7 ข้อห้ามในการออกกำลังกายของคุณแม่ตั้งครรภ์
7 ข้อห้ามในการออกกำลังกายของคุณแม่ตั้งครรภ์
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อคนเราในทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้กระทั่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์นั้นนอกจากจะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังส่งผลสู่ลูกน้อยในครรภ์ด้วย


ภาพจาก : pobpad.com

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อคนเราในทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้กระทั่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์นั้นนอกจากจะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังส่งผลสู่ลูกน้อยในครรภ์ด้วย อีกทั้งยังช่วยให้คุณแม่คลอดลูกง่ายขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีข้อห้ามเหมือนกันนะคะ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีกรณีไหนบ้างที่ไม่ควรออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ

1.6 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ นี่เป็นช่วงที่ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ เลยค่ะ แต่หากต้องการออกแนะนำให้ออกอย่างระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจจะส่งผลกระทบมายังทารกในครรภ์ ในช่วงที่อวัยวะของเขากำลังสร้างขึ้นใหม่ๆ ได้นั่นเอง

2.ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเป็นความดันโลหิตสูง เพราะมันสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษขึ้นได้ ดังนั้น การออกแรงมากจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเข้ามามากขึ้นได้

3.คุณแม่เป็นโรคหัวใจ โดยปกติ คนที่เป็นโรคหัวใจก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการออกกำลังกายอยู่แล้ว และยิ่งหากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่แล้วด้วยล่ะก็จะยิ่งทำให้หัวใจมีการทำงานหนักมากขึ้น หากต้องการออกจริงๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่า

4.ตั้งครรภ์แฝด การออกกำลังกายจะส่งผลกระทบมายังมดลูกและทารกได้ง่ายมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์ปกติ ยิ่งโดยเฉพาะสัปดาห์ท้ายๆ ที่ใกล้จะคลอด แนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ควรพักผ่อนให้มากๆ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพมากกว่า

ภาพจาก : tsgclub

5.มีภาวะรกเกาะต่ำ คุณแม่ที่มีภาวะรกเกาะต่ำอยู่ยิ่งไม่ควรออกกำลังกายเช่นเดียวกัน เพราะการเคลื่อนไหวตัวแรงๆ จะทำให้เกิดการกระแทกหนักและยังไม่ควรมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

6.ตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หากทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้าหรือผิดปกติ ก็ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบหนักๆ เช่นกัน เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายของคุณต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น อาจจะส่งผลทำให้ทารกน้อยไม่สามารถรับออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอนั่นเอง

7.ใกล้คลอด เพราะในช่วงใกล้จะคลอดนั้น คุณแม่มักจะมีอาการปวดเกร็งมดลูกบ่อยครั้ง ซึ่งการออกกำลังกายจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้

เหล่านี้ล้วนคือข้อจำกัดในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะห้ามไม่ให้ออกกำลังกายเลย เพราะคุณสามารถเลือกออกกำลังกายในแบบเบาๆ ได้ เช่น เดินเล่นยืดเส้นยืดสายในสวนสาธารณะ หรือรอบบ้านยามเช้าหรือตอนเย็นๆ

และเล่นโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะท่าเบาๆ พร้อมกับทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย หากมีอาการผิดปกติก็รีบพบแพทย์ทันที หากทำได้แบบนี้…คุณก็จะมีสุขภาพดีทั้งตัวเองและทารกในครรภ์แล้วค่ะ

ขอบคุณ ที่มา : sanook 



ปฏิกิริยาของคุณ?