มุมมอง
โรคซึมเศร้า กลายเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่วโลก ปัจจุบันพบว่า ประชากรสหรัฐอเมริกา 10% มีปัญหา ป่วยซึมเศร้า วิธีรักษาก็คือ ยาและกิจกรรมกลุ่มบำบัด เมื่อพบการวิจัยนี้ แพทย์จึงกระตุ้นให้ผู้ป่วยซึมเศร้า รักษาด้วยการออกกำลังกาย เพื่อทำให้ผู้ป่วยพึ่งพา การใช้ยาลดลง
เหตุที่ผู้วิจัยเชื่อมั่นเช่นนั้นเพราะว่า การวิจัยนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการวิจัยชิ้นเดียวโดด ๆ แต่เป็นการรวบรวม ข้อมูลมากถึง 15 การวิจัย มีประชากรกลุ่มตัวอย่าง มากถึง 191,130 คน และมีการติดตามผลนานถึง 3 ปี คณะผู้วิจัยคำนวณว่า หากกลุ่มประชากรตัวอย่าง ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หันมาออกกำลังกายกัน เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำ คาดว่าจำนวนผู้ป่วย โรคซึมเศร้าในอเมริกาจะลดลงราว ๆ 11.5% เลยทีดียว
การออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้าได้ และยังช่วยป้องกันการเกิดโรค ได้ถึง 18% เพียงออกกำลังกายแค่ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แพทย์แนะนำ คือ 150 นาที/สัปดาห์ แต่หากออกกำลังกายถึง 150 นาที/สัปดาห์ตามคำแนะนำ ก็ยิ่งได้ผลที่ดีขึ้น แค่ออกกำลังกาย สำหรับกลไกที่การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงเจ็บป่วยซึมเศร้า
นักวิจัยพบว่า เมื่อเราออกกำลังกายในระดับหนึ่ง ร่างกายจะหลั่งสารเคมี ชื่อ “เอนดอร์ฟิน” หรือสารแห่งความสุขออกมา โดยสารตัวนี้มีผลดังนี้
1) ทำให้จิตใจสงบ
2) หยุดยั้งวงจรความคิดลบที่เป็นหนึ่งในอาการของผู้ป่วยซึมเศร้า
3) ลดความเครียดในคนทั่วไป ซึ่งช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีความรู้สึกเครียด กังวล หรือ เริ่มมีภาวะซึมเศร้า ควรไปปรึกษาแพทย์ ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติ ทางอารมณ์ หรือจิตใจ เมื่อพบความผิดปกติ ควรไป ปรึกษาแพทย์ทันที
ที่มา : จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข ประจำเดือนมิถุนายน 2565 ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต