พัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี
พัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี
เด็กวัยนี้เริ่มไปโรงเรียนแล้ว มีสังคมกับคนภายนอกมากขึ้น เล่นกับเพื่อนเป็น ควรสอนให้ลูกรู้ว่าตนเองเป็นเพศใด เมื่ออายุ 3 ปี โดยมีพ่อแม่เป็นรูปแบบ


น้ำหนัก ส่วนสูง
พัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี

เด็กวัยนี้เริ่มไปโรงเรียนแล้ว มีสังคมกับคนภายนอกมากขึ้น เล่นกับเพื่อนเป็น ควรสอนให้ลูกรู้ว่าตนเองเป็นเพศใด เมื่ออายุ 3 ปี โดยมีพ่อแม่เป็นรูปแบบ ปัจจุบันเด็กเติบโตขึ้นมีพฤติกรรมเบียงเบนทางเพศเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม การแต่งตัวก็สำคัญ เด็กหญิงจะต้องสวยด้วยการใส่กระโปรงเหมือนแม่ เด็กชายใส่กางเกงตัดผมสั้น และพ่อควรมีบทบาทในการดูแลอบรมเลี้ยงดูลูกชาย ให้เจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตามเพศของตน

น้ำหนักและส่วนสูงโดยประมาณ

  • อายุ 3 ปี น้ำหนัก13.8 กิโลกรัม 92 เซนติเมตร (ค่าประมาณ)
  • อายุ 4 ปี น้ำหนัก16 กิโลกรัม100 เซนติเมตร (ค่าประมาณ)
  • อายุ 5 ปี น้ำหนัก18 กิโลกรัม108 เซนติเมตร (ค่าประมาณ)
  • อายุ 6 ปี น้ำหนัก20 กิโลกรัม115 เซนติเมตร (ค่าประมาณ)

พ่อแม่ควรร่วมมือกับครู เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งมีการพัฒนาการดังนี้

  • การทางตัวและเคลื่อนไหว เด็กสามารถยืนขาเดียวชั่วครู่ กระโดดขาเดียวได้ ขึ้นลงได้สลับเท้าเดินต่อส้นเท้าเป็นเส้นตรงไปข้างหน้าได้
  • การใช้ตาและมือ สติปัญญา เด็กต่อชิ้นไม้สามชิ้นเป็นสะพาน วาดรูปคนมีอย่างน้อย 2 ส่วน คือส่วนหัวและแขนหรือขา เขียนวงกลม สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมได้ตามแบบเมื่ออายุ 3,4 และ 5 ปี ตามลำดับ
  • การสื่อความหมาย และภาษา เด็กเข้าใจความหมายของคำมากขึ้น เล่าเรื่องได้ นับของได้ถึง 3-5 ชิ้น ถาม "ทำไม" "เมื่อไร" นับ 1-10 โดยท่องจำ
  • อารมณ์และสังคม เด็กสามารถควบคุมการถ่ายอุจจาระได้ดี แยกจากแม่ได้ไม่ร้อง ช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ ควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ส่วนใหญ่ ไม่ปัสสาวะรดที่นอน หลังอายุ 4 ปี ปรับตัวได้กับกฎระเบียบ เล่นสมมุติและมีจินตนาการมาก เล่าให้พ่อแม่ฟังได้

พ่อแม่ควรดูแลส่งเสริมพฤติกรรมของเด็ก ให้เติบโตเข้าสู่สังคมได้อย่างมีความสุข โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้

  •  ให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน และฝึกหัดแก้ไขความขัดแย้งเอง โดยมีผู้ใหญ่ดูแลอยู่ห่าง ๆและช่วยยามจำเป็นเท่านั้น
  •  ดูแลให้เด็กมีความรับผิดชอบ ปฎิบัติตามระเบียบวินัย ตามกฎของโรงเรียนและระเบียบในครอบครัว
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยงานบ้าน ฝึกการช่วยตนเอง และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
  •  ป้องกันอุบัติเหตุจากเครื่องไฟฟ้า อุบัติเหตุทางถนน ควรสอนกฎจราจรง่าย ๆ แก่เด็ก
  •  สอนว่ายน้ำ และฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเล่นสมมุติ
  •  ฝึกพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทั่วไป พฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง ไม่กินจุบกินจิบ ไม่กินของหวานและมันเกินไป
  •  เลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือโรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูก ควรพิจารณาเรื่องการเดินทาง ความปลอดภัย และครูที่มีเมตตาเข้าใจเด็กในวัยนี้มากกว่าที่จะเร่งเรียนพูดคุยตอบคำถามของเด็กด้วยความเต็มใจ ชักชวนให้เด็กดูรูปภาพ อ่านหนังสือ และเล่านิทานให้เด็กฟัง
  •  บันทึกน้ำหนักความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไป เมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?