มุมมอง
วิธีลด ความเจ็บปวด จากแผลผ่าตัด คลอดบุตร
คุณแม่ที่คลอดตามธรรมชาติส่วนใหญ่มักจะ มีแผลผ่าตัดบริเวณปากช่องคลอด แผลที่ว่านี้ แพทย์จำเป็นต้องตัด เพื่อทำให้ให้ปากช่องคลอดกว้างออกเพื่อให้ ศีรษะและตัวเด็กออกมาได้ง่ายโดยที่ไม่ทำให้ ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป
คุณแม่ที่คลอดบุตรทางธรรมชาติ ทุกคนจึงต้องผ่านความรู้สึกเจ็บปวดจากแผลนี้ แม้ว่าคุณแม่บางคนอาจจะไม่มีแผลฉีกขาดเลยก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องมีอาการช้ำหรือเจ็บปวดจากการคลอด บทความนี้จะมาบอกวิธีการว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้แผลหายเร็วและลดอาการ เจ็บปวดของแผลนี้ค่ะตามปกติแล้วแพทย์จะทำให้การเย็บแผลที่ปากช่องคลอดนี้ด้วยไหม ไหมให้เย็บแผลนั้นจะมีทั้งชนิดที่ละลายได้เองหรือไม่ละลายและจำเป็นต้องไป ให้แพทย์หรือพยาบาลตัดไหมออก ความเจ็บปวดหรือขนาดของแผลนั้นจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการคลอดและขนาด ของตัวเด็ก ตามปกติแล้วทางการแพทย์ได้แบ่งลำดับของบาดแผลเอาไว้เป็น 4 ลำดับ ดังต่อไปนี้
- ลำดับที่ 1 คือ แผล ที่มีการฉีดขาดเพียงผิวหนังภายนอกของปากช่องคลอด ไม่ไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ ตามปกติแล้วแผลชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเย็บและสามารถหายได้เอง
- ลำดับที่ 2 คือ แผล ที่ขาดไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ แผลที่แพทย์ตัดเพื่อให้เด็กคลอดออกมาส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแผลที่มีความลึกอยู่ ในระดับนี้ แผลนี้จำเป็นต้องเย็บแผลด้วยไหมและส่วนใหญ่จะกินเวลาประมาณ 2 เดือนจึงจะหายเป็นปกติ
- ลำดับที่ 3 คือ แผล ที่ขาดไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและเลยเข้าไปถึงหูรูดของทวารหนัก แผลในลำดับนี้เป็นแผลที่มีขนาดลึกมากขึ้นและต้องให้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะหายเป็นปกติ และแผลที่ลึกไปถึงหูรูดของทวารหนักอาจจะทำให้มีอาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ได้
- ลำดับที่ 4 คือ แผล ที่ขาดผ่านหูรูดทวารหนักเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย แผลชนิดนี้ความลึกมากขึ้นและอาจจะต้องใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะหายสนิท ปัญหาเรื่องกลั้นอุจจาระไม่อยู่จะพบมากขึ้น
วิธีการลดความเจ็บปวด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณนั้น แผลที่ปากช่องคลอด เป็นแผลที่บอบบาง อาจจะช้ำและมีเลือดออกได้ง่าย หากมือที่ไปจับมีเชื้อโรคอาจจะทำให้แผลติดเชื้ออักเสบได้
- เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ อาจจะทุก 4-6 ชั่วโมง ควรใส่ผ้าอนามัยให้ กระชับเพื่อลดการเสียดสีของแผล
- ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำอุ่นชำระล้างแผลหลังจะเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
- ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำอุ่นและฉีดไป ที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ เพื่อลดความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะที่อาจจะไหลผ่านแผล ทำให้ลดความแสบได้
- หากถ่ายอุจจาระ ต้องระวังอย่าลืมเช็ดอุจจาระจาก ทางด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อไม่ให้ความสกปรกหรือเชื้อแบคทีเรียมาปนเปื้อนกับแผลได้
- ให้น้ำแข็งประคบบริเวณแผลให้ 12-24 ชั่วโมงแรก (ส่วนใหญ่จะทำที่โรงพยาบาล) คุณอาจจะนอนตะแคงและหนีบ ถุงน้ำแข็งเอาไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง ความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยลดอาการบวมของแผลได้
- หลังจากวันแรกที่ประคบด้วยความเย็น คุณก็เริ่มเปลี่ยนเป็นประคบด้วยความร้อน วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการนั่งแช่แผลในน้ำอุ่นประมาณ 20 นาที น้ำอุ่นจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้แผลหายเร็ว คุณควรจะแช่น้ำอุ่นวันละ 3 ครั้ง จนแผลดีขึ้น บางคนอาจจะใช้โคมไฟที่มีความร้อนส่องที่แผลก็จะทำให้แผลแห้งเร็วขึ้นได้
- เมื่อกลับบ้านคุณอาจจะหาที่มิดชิดนอนบนเตียง และถอดผ้าอนามัยออกเพื่อผึ่งแผลให้แห้ง อาจจะใช้ พัดลมเป่าก็ได้ (แต่อย่าลืมน้ำผ้าเช็ดตัวเก่าๆวางรองนอนเพื่อกันเลอะเทอะนะคะ)
- หากนั่งให้นมลูกแล้วมีอาการเจ็บแผล อาจจะเปลี่ยนเป็นท่านอนให้นมลูกบ้าง
- หากคุณเจ็บแผลขณะนั่งมาก อาจจะหาห่วงยางมานั่งเพื่อใ ห้ให้น้ำหนักตัวกดลงที่แผล
- หลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนนานๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลลงมาคั่งบริเวณแผล ทำให้บาดแผลบวมมากขึ้นได้
- รับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์สั่ง และรับประทานยาถ่ายชนิดที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่มลงทำให้ถ่ายได้ง่ายขึ้น
- หากคุณสังเกตว่าแผลมีลักษณะบวมแดงผิดปกติ มีไข้ หรือไม่น้ำคาวปลาออกมากกว่าปกติ อาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากการติดเชื้อได้ ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ แต่ว่าหากคุณดูแลแผลตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โอกาสติดเชื้อนั้นน้อยมาก
ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต