เด็กคลอดธรรมชาติ แข็งแรงด้วยภูมิคุ้มกัน
เด็กคลอดธรรมชาติ แข็งแรงด้วยภูมิคุ้มกัน
อาการป่วยของทารกเป็นเรื่องที่พ่อแม่กังวลอยู่เสมอ เพราะทารก และเด็กเล็กเป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการพัฒนาความพร้อมของระบบภูมิ คุ้มกัน โรคที่มักพบบ่อยในเด็กทารก คือ โรคอุจจาระร่วง และโรคภูมิแพ้ในงานเสวนาในหัวข้อ


ภาพจาก maerakluke.com

เด็กคลอดธรรมชาติ แข็งแรงด้วยภูมิคุ้มกัน

อาการป่วยของทารกเป็นเรื่องที่พ่อแม่กังวลอยู่เสมอ เพราะทารก และเด็กเล็กเป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการพัฒนาความพร้อมของระบบภูมิ คุ้มกัน โรคที่มักพบบ่อยในเด็กทารก คือ โรคอุจจาระร่วง และโรคภูมิแพ้ในงานเสวนาในหัวข้อ "วิธีการคลอดกับผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กแรกเกิด" จัดโดยเนสท์เล่ นิวทริชั่น ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ มีเนื้อหาถึงความแตกต่าง ระหว่างเด็กที่เกิดโดยการผ่าคลอดและที่คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งพบว่า เด็กที่คลอดโดยวิธีผ่าคลอดหรือที่เรียกว่า "ซีซาเรียน เบบี้" มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ ลำไส้อักเสบ และโรคท้องร่วงได้มากกว่าเด็กที่คลอดโดยวิธีธรรมชาติ และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาวอีกด้วยสาเหตุเพราะเด็กจะ ไม่ได้รับโปรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์สุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วงเริ่มแรกของการมีชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับการที่เด็กคลอด ด้วยวิธีธรรมชาติผ่านช่องคลอดออกมา

งานวิจัยชิ้นสำคัญเรื่อง "วิธีการคลอดกับผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กแรกเกิด" โดย ศ.เกียรติคุณ น.พ.เบียก เบิร์กสเตน ภาควิชาการป้องกันการเกิดภูมิแพ้และกุมารเวชศาสตร์ สถาบันคาโรลินสก้า ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เน้นถึงความสำคัญของโปรไบโอติกส์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก ทารกให้แข็งแรงว่า ปัจจุบันทารกที่เกิดโดยการผ่าตัดคลอดอาจเสียโอกาสในการได้รับโปรไบโอติกส์ใน ขณะคลอด และนั่นเป็นผลให้อัตราการเกิดโรคติดเชื้อ รวมทั้งโรคภูมิแพ้ในเด็กกลุ่มนี้สูงกว่าทารกที่เกิดโดยวิธีธรรมชาติ
ระบบทางเดินอาหารของเด็กแรกเกิดนั้นมีสภาวะปลอดเชื้อ เด็กที่คลอดโดยธรรมชาติจะได้รับโปรไบโอติกส์ทันที ผ่านทางช่องคลอดของแม่ เป็นการเริ่มต้นของการสะสมโปรไบโอติกส์โดยธรรมชาติ เด็กที่ไม่ได้เกิดโดยวิธีธรรมชาติจะได้รับโปรไบโอติกส์ล่าช้ากว่า ซึ่งมีผลทำให้พัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของเด็กล่าช้าไปด้วย

ภาพจาก samitivejhospitals.com

โดยทั่วไปในทางเดินอาหารของทารกนั้นจะมีทั้งจุลินทรีย์ก่อโรค และโปรไบโอติกส์ หรือที่เรียกว่า "จุลินทรีย์สุขภาพ" มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคชนิดต่างๆ จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า โปรไบโอติกส์ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกแรกเกิด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ เช่น โรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อได้สำหรับในประเทศไทย มีผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์หลายท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของโปรไบโอติกส์ ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในทารก และผลการวิจัยที่ได้นั้นมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยในระดับนานาชาติศ.เกียรติคุณ พ.ญ.วันดี วราวิทย์ อาจารย์พิเศษประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเด็ก กล่าว ว่าโปรไบโอติกส์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และแล็กโตบาซิไล (Lactobacilli) เป็นจุลินทรีย์ที่พบในนมแม่ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติโดยจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะ ช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อและโรคภูมิแพ้แอนดรูว์ สกอร์รี่ หัวหน้าหน่วยโภชนาการทารกประจำประเทศไทย บริษัท เนสท์เล่ กล่าวว่า น้ำนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในน้ำนมแม่เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าต่อพัฒนาการของทารก และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารก แต่ในกรณีที่แม่บางคนไม่สามารถให้นมลูกได้เอง ทางเลือกที่จะทำให้ลูกได้รับคุณค่าทางโภชนาการตรงตามชนิด คือการคิดค้นนมที่มีสูตรโปรไบโอติกส์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งโปรไบโอติกส์กลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ทำให้เราได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และการป้องกันโรคหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในปัจจุบันอย่างมากมาย

ด้าน รศ.น.พ.วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ในสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้อัตราการผ่าคลอดของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มสูง ขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันทั่วโลก ในประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดเพิ่ม ขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในปี 2543 มีอัตราการผ่าคลอดอยู่ที่ร้อยละ 38.55 แต่ในปี 2549 เพิ่มเป็นร้อยละ 51.45 และเชื่อว่าปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 80-90 ขณะที่โรง พยาบาลทั่วไปที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2543 อยู่ที่ร้อยละ 15.19 ต่อมาในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.44 ขณะที่โรงพยาบาลรัฐในต่างจังหวัด อยู่ที่ร้อยละ 19-20 เท่านั้น"การคลอดโดยวิธีการผ่าตัด อาจส่งผลถึงความแตกต่างของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารซึ่งมีผลต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว การศึกษาถึงประโยชน์ของโปรไบโอติกส์ จะช่วยในการป้องกันช่วงที่สำคัญสำหรับลูกน้อย ซึ่งจากข้อมูลนี้ คาดการณ์ได้ว่า ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะมีเยาวชนและวัยรุ่นที่ไม่แข็งแรง และเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะที่เด็กแข็งแรงส่วนใหญ่จะเป็นเด็กต่างจังหวัดที่คลอดเองตามธรรมชาติ" รศ.น.พ.วิทยา กล่าว

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ข่าวสด



ปฏิกิริยาของคุณ?