ปัญหาสุขภาพที่มักพบในหญิงตั้งครรภ์
ปัญหาสุขภาพที่มักพบในหญิงตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาตินะคะ ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาหลายอย่าง และมีการสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ มากขึ้น จึงทำให้ร่างกายมีความต้องการสารอาหาร เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งจากความต้องการของตัวแม่เองและของเด็กในครรภ์


ภาพจาก sanook.com

ปัญหาสุขภาพที่มักพบในหญิงตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาตินะคะ ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาหลายอย่าง และมีการสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ มากขึ้น จึงทำให้ร่างกายมีความต้องการสารอาหาร เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งจากความต้องการของตัวแม่เองและของเด็กในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จึงอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารอย่างมาก ควรได้รับการ ดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่

ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10 - 12 กิโลกรัม เนื่องจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป เช่นมดลูกขยายตัว เต้านมขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น เกิดการสะสมไขมัน แต่หากน้ำหนัก เพิ่มมากเกินไปก็อาจจะทำให้ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายแก่แม่และเด็ก ในครรภ์ได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากเกินไปค่ะ ในทางตรงข้ามหากน้ำหนักเพิ่มน้อยเกินไปอาจจะทำให้ลูกที่จะเกิดมากคลอดก่อน กำหนดหรือน้ำหนักน้อยจนเกิดอันตรายได้ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรดูแลการเพิ่ม ของน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาพจาก sanook.com

อาการ ท้องผูก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระยะใกล้คลอด เนื่องจากเด็กในครรภ์เจริญ เติบโตขึ้นจนไปกดทับลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อย จึงเกิดอาการท้องผูกตามมา ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรจะกินผักและผลไม้เป็นประจำ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น

การ คลื่นไส้อาเจียน หรือที่เรียกว่าแพ้ท้อง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในตอนเช้า หรือขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการมาก อาจจะส่งผลให้ขาดสารอาหาร แต่อาจจะแก้ไขได้โดยการรับประทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

บางคนอาจจะมีความดันโลหิตสูง อันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นหลัง จากตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน ขึ้นไป ดังนั้นหากหญิงตั้งครรภ์มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ตามัว เจ็บบริเวณลิ้นปี่ หน้า มือ หรือหลังเท้าบวม น้ำหนักเพิ่มมากผิดปกติ หรือปัสสาวะออกน้อย ควรไปพบแพทย์ทันที

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข



ปฏิกิริยาของคุณ?