ระกำ สรรพคุณและประโยชน์
ระกำ สรรพคุณและประโยชน์
ผลระกำ ลักษณะของผลที่เปลือกจะมีหนามแข็งเล็ก ๆ ในหนึ่งผลจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 กลีบ ผลดิบจะมีรสฝาดและเปรี้ยว ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน


ระกำ สรรพคุณและประโยชน์

ระกำ ชื่อสามัญ Salacca

ระกํา ชื่อวิทยาศาสตร์ Salacca wallichiana Mart. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calamus zalacca Roxb., Salacca beccarii Hook.f., Salacca macrostachya Griff.) จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า PALMAE หรือ PALMACEAE

จัดเป็นพืชในตระกูลปาล์มและจัดอยู่ในสกุลเดียวกับผลไม้สละ โดยผลไม้ระกำจัดเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดตราด ที่เป็นที่รู้จักทั่วไปในนามของ “ระกำหวานเมืองตราด” แต่ทั้งนี้ราคาก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของระกำด้วย

ต้นระกำ เป็นต้นหรือเหง้าเตี้ย มียอดแตกเป็นกอ ออกผลรวมกันเป็นกระจุกแบบทะลาย โดยหนึ่งทะลายจะประมาณ 2-5 กระปุก ลำต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ใบมีลักษณะยาวเป็นทางประมาณ 2-3 เมตร

ผลระกำ ลักษณะของผลที่เปลือกจะมีหนามแข็งเล็ก ๆ ในหนึ่งผลจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 กลีบ ผลดิบจะมีรสฝาดและเปรี้ยว ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้ออ่อนและน้อย ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม ลักษณะโดยรวมแล้วจะคล้ายกับสละ แต่ลักษณะของผลจะป้อมกว่า เมล็ดจะใหญ่กว่า และเนื้อจะออกสีเหลืองอมส้มหน่อย ๆ แต่ถ้าเป็นสละเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ และมีเนื้อประมาณ 1-2 กลีบ

สำหรับคนไทยโบราณแล้วจะไม่นิยมปลูกต้นระกำไว้ในบ้าน เพราะไม่เป็นมงคล สาเหตุคงมาจากชื่อที่ไม่เป็นมงคล และเชื่อว่าหากปลูกต้นระกำไว้ในบ้านจะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความชอกช้ำระกำใจอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

สรรพคุณและประโยชน์ของระกำ

  1. ระกําช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  3. ผลระกำใช้รับประทานเป็นยารักษาอาการไอ
  4. ช่วยรักษาอาการไข้สำประชวร (แก่น)
  5. ใช้เป็นยาขับเสมหะ (ผล, แก่น)
  6. ช่วยรักษาเลือด รักษากำเดา (แก่น)
  7. ช่วยในการย่อยอาหาร
  8. ระกำสามารถนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารได้ อย่างเช่น ต้มยำ, ต้มส้ม, น้ำพริก, ข้าวยำ เป็นต้น
  9. ใช้รับประทานเป็นผลไม้สดหรือทำเป็นของหวานได้ เช่น ระกำลอยแก้ว น้ำระกำ ระกำแช่อิ่ม เป็นต้น
  10. มีการใช้ผิวของระกำนำมาสกัดเป็นน้ำมันระกำ
  11. ไม้ของต้นระกำเมื่อลิดเอาหนามออกหมดสามารถนำมาใช้กั้นทำเป็นฝาบ้านได้
  12. เมื่อปอกเปลือกของไม้ระกำออก เนื้อไม้ของระกำอ่อนนุ่มมีความหยุ่น สามารถนำมาใช้ทำเป็นจุกขวดน้ำ ทำของเล่นเด็ก เนื่องจากลอยน้ำได้ และใช้เป็นเครื่องประกอบดอกไม้

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , ราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?