มุมมอง
ตำลึง ชื่อสามัญ Ivy gourd
ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cephalandra indica (Wight & Arn.) Naudin) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
ตำลึง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง
ตำลึง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะให้พลังงานกับร่างกาย 35 กิโลแคลอรี, โปรตีน, ใยอาหาร 1 กรัม, เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU, วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม, วิตามินซี 34 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม, ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม เป็นต้น
มีงานวิจัยหลายงานที่ชี้ว่า ตำลึงช่วยรักษาโรคเบาหวานได้จริง โดยมีผลในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด !
สรรพคุณของตำลึง
- ช่วยบำรุงเลือด (ใบ)
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตกได้
- ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ (ใบ)
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (วิตามินซี)
- ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
- ช่วยลดไข้ (ราก)
- ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
- แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม (เถา)
- ใช้แก้อาการตาแดง เจ็บตา (ใบ)
- ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง (เปลือกราก, หัว)
- ช่วยขับสารพิษในลำไส้ (ใบ)
- ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ใบ)
- ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบตำลึงนำมาตำแล้วทาบริเวณที่คัน (ใบ, ดอก)
ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต