บ๊วย สรรพคุณและประโยชน์
บ๊วย สรรพคุณและประโยชน์
ต้นบ๊วย จัดเป็นไม้ผลยืนต้น ที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และให้ผลผลิตสูงตามอายุและขนาดลำต้น


สมุนไพร บ๊วย ภาษาอังกฤษ Chinese plum, Japanese apricot, Ume

สมุนไพร บ๊วย ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus mume Siebold & Zucc. จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง

ลักษณะของบ๊วย

ต้นบ๊วย จัดเป็นไม้ผลยืนต้น ที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และให้ผลผลิตสูงตามอายุและขนาดลำต้น โดยต้องการอุณหภูมิในการปลูกต่ำประมาณ 7.2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่ง หรือด้วยวิธีการปักชำ

ใบบ๊วย ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย

ดอกบ๊วย ดอกมีกลิ่นหอม ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู

ผลบ๊วย หรือ ลูกบ๊วย ผลมีลักษณะกลมมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลบ๊วยโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร เนื้อมีรสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อนิ่ม ในผลมีเมล็ดแข็ง ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันผลจะแก่และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ส่วนในประเทศไทยจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน

โอวบ๊วย หรือ บ๊วยดำ ภาษาจีนกลางเรียกว่า "อูเหมย" ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Smoked Plum โดยนำส่วนของผลบ๊วยที่ใกล้จะสุกมาทำเป็นยา หรือในชื่อของเครื่องยา Fructus Mume (ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่แปลรูปมาจากบ๊วย แต่จะมีสรรพคุณแตกต่างกันออกไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากสถาบันการแพทย์แผนไทยและจีน)

สรรพคุณบ๊วยดำ

  1. โอวบ๊วยมีรสเปรี้ยว ฝาด และสุขุม มีฤทธิ์ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ช่วยระงับอาการไอ แก้ไอแห้ง อาการไอเรื้อรัง
  2. โอวบ๊วยมีฤทธิ์ช่วยเสริมธาตุน้ำ ช่วยแก้ร้อนแบบพร่อง แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ
  3. ช่วยลดอาการไข้
  4. ช่วยสมานลำไส้ ช่วยระงับอาการท้องร่วง แก้อาการท้องร่วงเรื้อรังและมีเลือดปน บิดเรื้อรัง
  5. ช่วยป้องกันโรคติดต่อในลำไส้ได้
  6. มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ แก้พยาธิ
  7. ช่วยห้ามเลือดได้ดี
  8. บ๊วยดำประกอบด้วยกรดมาลิค กรดซิตริค กรดซัคซินิค ไซโตสเตอรอล และในเมล็ดจะมีน้ำมัน โดยบ๊วยดำสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด เชื้อวัณโรค เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อไทฟอยด์หรือไข้รากสาดใหญ่

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?