มุมมอง
ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์
ทุเรียน ชื่อสามัญ Durian (มาจากคำว่า duri ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า “หนาม”)
ทุเรียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Durio acuminatissimus Merr., Durio stercoraceus Noronha) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่อยู่วงศ์ฝ้าย ในสกุลทุเรียน (แต่นักอนุกรมวิธานบางท่านจัดให้ทุเรียนอยู่ในวงศ์ทุเรียน) ทุเรียนจัดว่าเป็นราชาผลไม้ไทย โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน โดยลักษณะของผลทุเรียนจะมีขนาดใหญ่ ผลรีถึงกลม และมีเปลือก( สีเขียวถึงสีน้ำตาล) ที่ปกคลุมไปด้วยหนามแข็ง ผลทุเรียนอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางของผลยาวถึง 15 ซม. น้ำหนักโดยทั่วไปประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมีเนื้อที่นำมารับประทานเป็นสีเหลืองซีดจนถึงสีแดง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์
ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ ได้แก่ Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus, Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha, Durio oxleyanus และ Durio testudinarum แต่มีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และชนิดนี้ก็แบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและปลูกกันมากก็คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัวประโยชน์ของทุเรียน โดยเนื้อในจะเหมือนคัสตาร์ด มีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ สำหรับบางคนนั้นบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม แต่ในขณะที่บางคนกลับมองว่ามันมีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียนเลยทีเดียว (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขาห้ามนำทุเรียนเข้าไปในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะ) ทุเรียนนั้นเราสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่ามแล้วแต่คนชอบ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เมล็ดก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน
สรรพคุณของทุเรียน
1.ช่วยทำให้ฝีแห้ง (เนื้อทุเรียน)
2.ช่วยแก้โรคผิวหนัง (เนื้อทุเรียน)
3.สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใบวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้ (ราก, ใบ)
4.ทุเรียนมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)
5.ช่วยขับพยาธิ (ใบ, เนื้อทุเรียน)
6.ทุเรียนมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน (ใบ)
7.ช่วยทำให้หนองแห้ง (ใบ)
8.ช่วยแก้ตานซาง (เปลือก)
9.ช่วยรักษาโรคคางทูม (เปลือก)
10.ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เปลือก)
11.ช่วยแก้ฝี (เปลือก)
12.ช่วยรักษาแผลพุพอง (เปลือก)
13.ใช้สมานแผล (เปลือก)
14.เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง (เปลือก)
ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต