มุมมอง
สมุนไพร ไข่เน่า
สมุนไพร ไข่เน่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex glabrata R.Br. จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง LABIATAE หรือ VERBENACEAE
สมุนไพรไข่เน่า มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ขี้เห็น (เลย, อุบลราชธานี), ปลู (เขมร-สุรินทร์), คมขวาน ฝรั่งโคก (ภาคกลาง) เป็นต้น
"ต้นไข่เน่า" ที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นจะเป็นคนละชนิดกันกับ "ต้นคำมอกหลวง" เนื่องจากคำหมอกหลวงก็มีชื่อท้องถิ่นว่าไข่เน่าเช่นกัน)
ลักษณะของไข่เน่า
ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรยบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสีสีเหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ใบไข่เน่า มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ อยู่เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อยมี 3-5 ใบย่อย ใบมีสีเขียวเข้ม (คล้ายใบงิ้ว) ลักษณะคล้ายรูปไข่ไข่กลับ หรือเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลีบ ใบมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบสอบแหลมหรือมน ขนาดของใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยงมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า และมีขนสั้นอยู่ประปราย ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-7 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อใบจะยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร
ดอกไข่เน่า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมีสีม่วงอ่อน (หรือสีม่วงอมชมพู สีขาวมีแดงเรื่อๆ) กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง และมีขนละเอียดที่ดอก ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร[8] โดยดอกจะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศผสมตัวเอง หรือต่างต้นต่างดอกก็ได้ และจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลไข่เน่า หรือ ลูกไข่เน่า ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ขั้วผลเป็นรูปกรวยกว้าง ผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ ผลมีเนื้ออ่อนนุ่ม และมีรสหวานอมเปรี้ยวและเหม็น ส่วนเมล็ดไข่เน่าจะมีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย และยังมีการสันนิษฐานว่า ชื่อไข่เน่านี้คงมาจากลักษณะและสีของผลนั่นเองโดยผลแก่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
สรรพคุณของไข่เน่า
- ผลใช้รับประทาน กินแล้วหัวดี ช่วยบำรุงสมองได้ (ผล)
- ผลอุดมไปด้วยแคลเซียม จึงช่วยบำรุงกระดูก แก้กระดูกผุสำหรับผู้สูงอายุได้ดี (ผล)
- รากไข่เน่า สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,เปลือกต้น)
- ผลสุกใช้รับประทาน มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล,เปลือกต้น)
- ช่วยแก้ตานขโมย (โรคพยาธิในเด็ก ที่มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผอมแห้ง ซุบซีด มีอาการท้องเดิน ก้นปอด) (ราก,เปลือกต้น,ผล)
- ช่วยรักษาพิษตานซาง (เปลือกต้น)
- ไข่เน่า สรรพคุณของเปลือกต้นช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นนัยน์ตา (ผล,เปลือกผล)
- เปลือกต้นมีรสฝาด สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ราก,เปลือกต้น)
- รากและเปลือกต้น มีสรรพคุณทางยาช่วยแก้บิด (ราก,เปลือกต้น)
- ช่วยรักษาอาการท้องร่วง (ราก)
- ช่วยแก้เด็กถ่ายเป็นฟอง (เปลือกต้น)
- เปลือกต้นไข่เน่า สรรพคุณช่วยขับพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร (เปลือกต้น) รากใช้ขับพยาธิไส้เดือน (ราก)
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะ หรือโรคลำไส้อักเสบของเด็กทารก (เปลือกผล)
ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต