มุมมอง
มะไฟ สรรพคุณและประโยชน์
มะไฟ ชื่อสามัญ Burmese grape
มะไฟ ชื่อวิทยาศาสตร Baccaurea ramiflora Lour. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)
สมุนไพรมะไฟ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หัมกัง (เพชรบูรณ์), ส้มไฟ (ภาคใต้) เป็นต้น
มะไฟ จัดเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย โดยปลูกกันแพร่หลายในอินเดียและมาเลเซีย และยังพบได้ทั่วไปตามในแถบเอเชีย มะไฟเป็นไม้ยืนต้น มีผลออกเป็นช่อ ผลอ่อนของมะไฟมีขนคล้ายกำมะหยี่ ถ้าผลแก่ผิวจะเกลี้ยง มีเปลือกสีเหลือง เนื้อมีสีขาวหรือขาวใสอมชมพู แล้วแต่สายพันธุ์ที่ปลูก ส่วนเมล็ดจะแบนและมีสีน้ำตาล พันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปได้แก่ พันธุ์เหรียญทอง (ผลใหญ่ ก้นเรียบ มีเนื้อสีขาว), พันธุ์ไข่เต่า (ผลกลมรี ก้นแหลม เนื้อขาวอมชมพู หวานอมเปรี้ยวมากกว่าพันธุ์เหรียญทอง) และอีกสายพันธุ์คือมะไฟสีม่วง โดยเปลือกจะมีสีม่วง (ประเทศจีน)
ผลมะไฟสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวานและมีกรดอินทรีย์อยู่หลายชนิด รวมไปถึงวิตามินซี น้ำตาล และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นิยมรับประทานเป็นผลไม้สดหรือนำไปทำเป็นน้ำผลไม้ นอกจากผลของมะไฟที่มีประโยชน์แล้ว ส่วนอื่น ๆ ของมะไฟก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย เช่น ใบของมะไฟและรากสด-แห้ง ต่างก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้
สรรพคุณของมะไฟ
1.ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ใบ)
2.ช่วยขับเสมหะและช่วยละลายเสมหะ
3.ช่วยดับพิษร้อน (รากสดหรือรากแห้ง)
4.ผลใช้เป็นยาช่วยย่อย รักษาอาการอาหารไม่ย่อย
5.ผลช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
6.แก้อาการท้องร่วง (รากนำไปต้มกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ)
7.ช่วยแก้ฝีภายใน (รากสดหรือรากแห้ง)
8.ช่วยบรรเทาอาการไข้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า และมีผื่นคล้ายลมพิษ หรือ “ไข้ประดง” (รากสดหรือรากแห้ง)
9.ช่วยรักษาโรคเริม (รากสดหรือรากแห้ง)
10.แก้วัณโรค (รากสดหรือรากแห้ง)
11.ใช้แก้พิษตานซาง (รากสดหรือรากแห้ง)
ขอบคุณ ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.)
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต