ใช้กล่องโฟมให้ปลอดภัย
ใช้กล่องโฟมให้ปลอดภัย
ภาชนะที่บรรจุอาหาร มักถูกมองข้ามในเรื่องของสารปนเปื้อนและสารพิษ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสารพิษที่ปนเปื้อนมากับภาชนะเหล่านั้น พร้อมกับวิธีใช้ภาชนะนั้นๆ อย่างปลอดภัยค่ะ


ภาพจาก : tonkit360.com

ภาชนะที่บรรจุอาหาร มักถูกมองข้ามในเรื่องของสารปนเปื้อนและสารพิษ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสารพิษที่ปนเปื้อนมากับภาชนะเหล่านั้น พร้อมกับวิธีใช้ภาชนะนั้นๆ อย่างปลอดภัยค่ะ

ภาชนะบรรจุอาหาร ต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมาย คือ ต้องเป็นภาชนะมีคุณภาพ สะอาด ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสี หรือโลหะหนักออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้พลาสติกและโฟมถูกใช้แทน ใบตอง กระดาษ โลหะ หรือแก้ว ในการบรรจุอาหาร เนื่องจากพลาสติกและโฟมสามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมโดยเฉพาะกล่องโฟม มักถูกนำไปใช้ในการบรรจุอาหารที่ร้อนและมีน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจากสารปนเปื้อนที่แยกตัวออกมาจากภาชนะบรรจุได้ ซึ่งชนิดของพลาสติกที่ใช้ในการทำภาชนะบรรจุได้แก่

ภาพจาก : mgronline.com

1. โพลีเอทิลีน (Polyethylene-PE) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • โพลีเอทิลีนความหนาแน่น เรียกว่าถุงเย็น มีคุณสมบัติ คือ ไขมันซึมผ่านได้ง่าย
  • โพลีเอทิลีนความหนาแน่นปานกลาง
  • โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง หรือถุงร้อนสีขาวขุ่น

2. โพลีโพรพิลีน (Polypropylene-PP) เป็นถุงร้อนใส ใช้บรรจุอาหารที่ต้องผ่านความร้อนระดับฆ่าเชื้อได้ เป็ฯส่วนประกอบในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว สามารถใช้บรรจุอาหารที่มีไขมันได้ในระยะเวลาหนึ่ง

3. โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate-PET) ทนต่ออุณหภูมิสูงได้นิยมใช้ทำถาดบรรจุภัณฑ์อาหารใช้ได้ทั้งกับเตาอบและเตาไมโครเวฟ

4. โพลีไวนิล คลอไรด์ (Polyvinyl chloride-PVC) ปัจจุบันผลิตให้มีสารตกค้างของไวนิล คลอไรด์ ซึ่งเป็นสารทำให้เกิดมะเร็งตับได้ต่ำกว่า 1 ppm. นับว่าปลอดภัยสำหรับบรรจุอาหาร ทนต่อน้ำมัน กันกลิ่นได้ดี ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ไม่เกิน 920 องศาเซลเซียส

5. โพลีสไตรีน (Polystyrene-PS) นิยมนำมาใช้ทำถ้วย ถาดแก้ว ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ถ้านำไปบรรจุของร้อนถาดโฟมจะหลอมละลายทำให้มีสารอันตรายออกมาปนเปื้อนในอาหารได้

ภาพจาก : thaihealth.or.th

หากไม่ตระหนักและเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกใช้ ภาชนะบรรจุเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งอาจเกิดการปนเปื้อนสารอันตรายลงสู่อาหาร หรือเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างอาหารและภาชนะบรรจุ ฉะนั้นการเลือกใช้พลาสติก หรือโฟมต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร และเหมาะสมกับการใช้งาน โดยปกติกล่องโฟมเมื่อได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูงประมาณ 160-220 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และมีการปล่อยสารโมเลกุลใหญ่หรือสารประกอบบางชนิดออกมา

นอกจากนี้อาจมีสารพิษไม่ทราบชนิดที่มีผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว และสารบางอย่างสะสมในร่างกายก่อให้เกิดมะเร็งได้ และในกล่องโฟมเมื่อได้รับความร้อนสูงจะให้สาร 2 ชนิด คือ สไตรีน (styrene) และเบนซิน (Benzene) ซึ่งเบนซินเป็นสารที่ทราบกันอยู่แล้วว่ามีความเป็นพิษสูงและเป็ฯสารก่อมะเร็งอีกด้วย

ขอขอบคุณ นิตยสารเรื่องผู้หญิง



ปฏิกิริยาของคุณ?