มุมมอง
เสียงครวญจาก "ข้อต่อ" คอลัมน์ วาไรตี้เฮลท์ ถ้ากระดูกในร่างกายคนเรามีทั้งสิ้น 208 ชิ้น รู้ไหมว่า คนเรามี "ข้อต่อ" ทั้งหมดกี่ชิ้น ? ...คำตอบก็คือ 360 ชิ้น...และลองคิดต่ออีกสักนิดว่า ถ้าทั้ง 360 ชิ้นที่ว่านี้มันเกิดปวดขึ้นมาจะเป็นอย่างไร...?แน่นอน...ทรมาน สุดแสนจะทรมาน ที่สำคัญ บางรายไม่เพียงแค่ปวด แต่ข้อต่อที่ว่าอาจผิดรูป ผิดร่างไปเลยก็มีอาการรุนแรงเช่นนี้ เป็นอาการของ "ข้อต่ออักเสบ" ระดับที่ร้ายที่สุด ที่รู้จักกันว่า "รูมาตอยด์"โรคนี้พบว่าในเอเชียมีเพียง 0.3-0.5% แม้จะไม่ได้รุนแรงเท่าในยุโรปหรืออเมริกา แต่สามารถเป็นได้ทั้งชายและหญิงโดยเฉพาะหญิงวัยกลางคน
ยังพบอีกว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย มากถึง 3 เท่า มีทุกอายุตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยชรา ผู้ที่เป็นอายุสั้นกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นถึง 7 ปีผู้ที่ต้องพบพานกับโรคนี้ ต้องบอกว่าแสนสาหัสจริงๆ เพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย และเป็นแล้วต้องอยู่กับมันตลอดชีวิตถ้าจะเสียชีวิตก็จะเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะ บางอย่าง อาทิ ปอดอักเสบ โรคหัวใจ เส้นเลือดใน ตาอักเสบ ระบบประสาท เอ็นขาด-เปื่อย ข้อผิดรูปร่าง กระดูกพรุน เป็นต้นผศ.น.พ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ แห่งหน่วยโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า "รูมาตอยด์เป็นโรคแพ้ภูมิชนิดเดียวกับโรคสะเก็ดเงิน โรค SLE หรือโรคพุ่มพวง โดยเชื่อว่าฮอร์โมนหญิงทำให้เกิดความผิดปกตินี้ ส่วนต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้นั้น ทางการแพทย์ยังไม่พบที่มา แต่คาดว่าส่วนหนึ่งน่าจะ เกี่ยวกับการติดเชื้อบางอย่าง และอีกส่วนจากพันธุกรรม"อาการที่รูมาตอยด์เริ่มมาเยือนจะเริ่มจากข้อนิ้วมือ ข้อมือ ศอกไหล่ หรืออาจจะเป็นข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า เข่า โดยในตอนเช้ามือจะแข็ง ข้อฝืด และจะปวดในตอน กลางคืน หรือช่วงที่มีอากาศเย็น และจะค่อยๆ บวม ร้อนแดง และปวดมากยิ่งขึ้นสาเหตุที่เกิดอาการนั้น เกิดจากเยื่อบุข้อเติบโตผิดปกติ จนลุกลามไปทำลายกระดูกและข้อ จนทำให้กระดูกผิดรูป ทำให้พิการได้หากไม่รักษาแต่เนิ่นๆในยุโรปมีการตื่นตัวในเรื่องนี้อย่างมาก โดยพบว่าผู้ป่วยที่เริ่มเป็นแค่ 1-2 สัปดาห์ ก็เริ่มเข้ารับการรักษาแล้วการรักษามีหลายวิธี ทั้งการใช้ "ยาสเตอรอยด์" ร่วมกับการติดตามภาวะกระดูกของคนไข้การใช้ "ยาชีวภาพ" ปรับภูมิคุ้มกันที่ต้องฉีดทุกสัปดาห์ ซึ่งแม้จะได้ผลดี แต่ต้องใช้เงินมากถึงเดือนละ 60,000-70,000 บาท และอาจมีผลข้างเคียงไปถึงตับและไต"กายภาพบำบัด" ด้วยการแช่พาราฟิน และการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และพฤติกรรมประจำวัน ช่วยไม่ให้เกิดการพิการ และลดอาการปวดและท้ายสุด "ผ่าตัด" แก้ไขความพิการ การอักเสบ หรืออาการแทรกซ้อนต่างๆ
การรักษาทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น
แม้โรคนี้จะรักษาไม่หายก็ตาม แต่ก็มีข้อแนะนำมาให้ว่า
1.เปลี่ยนอุปกรณ์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเลี่ยงการใช้ข้อเล็กๆ เช่น การจับอุปกรณ์เล็กๆ อย่างปากกา ด้ามไม้กวาด ถือถุงหรือของหนัก ใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ โดยหยุดพักเป็นช่วงๆ
2.พักข้ออย่างจริงจังด้วยการประคบน้ำอุ่นนานพอสมควร
3.พักผ่อนให้เพียงพอเลี่ยงความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ
4.ออกกำลังกายที่ข้อไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป อาทิ มวยจีน โยคะ ว่ายน้ำ รำไทย
5กินอาหารสะอาด ต้มสุก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่กินยาลดภูมิคุ้มกัน
6.เลี่ยงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีฤทธิ์บำรุงร้อน (โสม) ที่อาจทำให้ข้ออักเสบมากขึ้น ควรกินน้ำมันปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่มี โอเมก้า 3 จะช่วยให้การอักเสบลดลง
7.เลี่ยงความหนาว
8.สำหรับผู้ป่วย ห้ามขาดยาเป็นอันขาด
ท้ายที่สุดในการรักษาหรือการระงับโรคนี้ โอกาสทองอยู่แค่ ปีแรกเท่านั้น ดังนั้นควรตรวจกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจากโปรแกรมการตรวจร่างกายประจำปีรู้ก่อน มีสิทธิ์ (รักษา) ก่อน...จำไว้...!
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาชาติธุรกิจ ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต