เด็กที่เอาแต่ใจตนเอง
เด็กที่เอาแต่ใจตนเอง
เด็กที่เอาแต่ใจตัวเองหรือ Spoiled Children หมายถึง เด็กที่ไม่มีระเบียบวินัย ทำอะไรตามใจชอบ และพ่อแม่มักไม่สบายใจเมื่ออยู่ด้วย


เด็กที่เอาแต่ใจตัวเองหรือ Spoiled Children หมายถึง เด็กที่ไม่มีระเบียบวินัย ทำอะไรตามใจชอบ และพ่อแม่มักไม่สบายใจเมื่ออยู่ด้วย พฤติกรรมของเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองมีดังนี้

  •  ไม่ทำตามกฎเกณฑ์ หรือร่วมทำตามคำแนะนำ
  •  ไม่หยุดเมื่อบอกว่า อย่า หรือ หยุดนะ หรือคำสั่งอื่น ๆ
  •  ประท้วงทุกเรื่อง
  •  ไม่รู้ความแตกต่างระหว่าง ความต้องการ กับ ความอยากได้
  •  ยืนยันที่จะทำตามวิธีการของตนเองโดยไม่มีเหตุผล
  •  แสดงความต้องการเกินความจำเป็น หรือทำอะไรที่ไม่ยุติธรรมกับผู้อื่น
  •  ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น
  •  มีความอดทนต่ำเมื่อถูกกดดัน
  •  ร้องกวน หรือแสดงอารมณ์ร้ายบ่อย ๆ
  •  บ่นเบื่อตลอดกาล

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นเช่นนี้ ก็คือ คนเลี้ยงดูหรือผู้ปกครองเป็นคนใจอ่อน ยอมตามใจเด็กไม่กำหนดขอบเขตและยอมให้เด็กร้อง แสดงอารมณ์ร้าย ถ้าผู้ปกครองยอมให้เด็กอยู่เหนือ ทำอะไรก็ตามใจ จะนำไปสู่การสร้างนิสัยทำอะไรตามใจตนเอง เมื่อถูกขัดใจก็จะร้องแล้วยอมให้หมด

พ่อแม่ที่ออกไปทำงานนอกบ้าน ก็ต้องฝากลูกไว้กับคนเลี้ยง หรือญาติผู้ใหญ่ซึ่งก็อาจทำให้เด็กถูกตามใจ โดยการดูแลแบบต้อนรับขับสู้ตลอดเวลา จะเอาอะไรก็ให้ เพื่อให้เด็กรัก ซึ่งทำให้เด็กได้รับการตอบสนองในทุกเรื่อง ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนี้เหตุผลที่คนเลี้ยงเด็กยอมโอนอ่อนตามใจตลอด เพราะคนเลี้ยงเด็กมีความสับสนระหว่างสิ่งที่เด็กต้องการสำหรับชีวิต (need) เช่น ความต้องการด้านอาหาร ต้องการกินนม และ ความอยากได้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับชีวิตจริง (want) เช่น อยากเล่น ผู้ปกครองหรือคนเลี้ยงจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เด็กร้อง ในวัยทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน จึงมักมีขวดนมถึงปากทุกครั้งที่ร้อง ทั้ง ๆ ที่อยากให้อุ้มหรือให้เล่นด้วย

นอกจากนั้นยังมีความสับสน ในการเลี้ยงดูเด็กในเรื่อง การเอาใจใส่ดูแลกับการตามใจเด็ก โดยทั่วไปการเอาใจใส่ดูแลเด็กตลอดเวลาเป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องให้ถูกจังหวะและเหมาะสม ถ้าให้ไม่ถูกอาจจะเป็นภัยได้เช่น พยายามเล่นกับเด็กตลอดเวลา เป็นการรบกวนการเรียนรู้ที่จะเล่นด้วยตนเอง หรือเล่นกับ เพื่อน ๆ หรือบางครั้งเด็กต้องการให้ผู้ใหญ่เล่นด้วย แต่ผู้ใหญ่ไม่เล่นด้วยเพราะกำลังยุ่ง การเอาใจใส่ที่ผิดจังหวะ อีกอย่างก็คือให้ความสนใจเล่นกับเด็กเมื่อเด็กประพฤติไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นช่วงที่จะต้องวางเฉย ถ้าผู้ใหญ่ให้ความสนใจตอบสนองกันไปทุกเรื่อง เด็กก็จะไม่เรียนรู้เกี่ยวกับการรู้จักรอให้ถึงคิวตนเองก่อน การอุ้มเด็กเป็นการแสดงความเอาใจใส่ ซึ่งมีค่าเท่ากับแสดงความรัก เด็กบางคนจะติดให้อุ้ม วางไม่ได้จะร้องซึ่งเรียกกันว่า อุ้มจนติดมือ ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นหน่อยต้องการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง การร้องให้อุ้มก็ลดลงน้อยลงและอาจกลับมาเป็นช่วง ๆ ก็ไม่ถือว่าการอุ้มเป็นการทำให้เสียเด็ก แต่ควรปล่อยให้เด็กได้นอน นั่งเล่น เพื่อฝึกการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะได้แข็งแรง

เด็กที่เอาแต่ใจตนเอง หากไม่แก้ไขจะมีปัญหาเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เพื่อนจะไม่ชอบเพราะเด็กที่เอาแต่ใจตนเองจะเอาแต่สั่งและเห็นแก่ตัว ผู้ใหญ่ก็ไม่ชอบเพราะเด็กเอาแต่ใจตนเองจะกระด้างและจะเอาโน่นเอานี่ ในที่สุดอาจจะทำให้พ่อแม่หนักใจ เพราะพฤติกรรมของเด็ก การที่คนอื่นแสดงอาการไม่ยอมรับ เข้ากับเพื่อนและผู้ใหญ่ไม่ได้จะทำให้เด็กไร้ความสุข ขาดแรงจูงใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนที่โรงเรียน พฤติกรรมดังกล่าวเมื่อโตขึ้นเด็กก็จะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยาเสพย์ติด จึงกล่าวได้ว่าเด็กที่เอาแต่ใจตนเองเป็นการเตรียมตัวเองในแง่ลบมากขึ้น ชีวิตจริงเมื่อเขาเติบโตขึ้นจะอยู่ในสังคมอย่างไร้ความสุข

ทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงดูเด็กให้พอดี ไม่เป็นเด็กเอาแต่ใจตนเอง

1. กำหนดขอบเขตหรือกฎเกณฑ์สำหรับเด็กตามอายุพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องรับผิดชอบในการดูแลกำหนดกฎเกณฑ์ ผู้ใหญ่จะต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เก็บสิ่งของที่แตกง่าย แหลมคมลงกล่องเก็บไว้ก่อนเมื่อเด็กเริ่มคลานได้ เมื่อเข้าใกล้หรือปีนป่ายเก้าอี้สูงก็ควรจะห้าม ?อย่า? ซึ่งจะเป็นการดีสำหรับเด็ก ถ้าผู้ใหญ่ใช้คำว่า ?อย่า? เท่าที่จำเป็น มิใช่มีของวางไว้โชว์เต็มไปหมด เด็กขยับไปทางไหนก็ได้ยินคำว่า ?อย่า? เด็กก็จะเซ็ง เด็กต้องการการดูแลและเรียนรู้ว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ แล้วเขาจะควบคุมตนเองได้และมีระเบียบวินัย ไม่ต้องกังวลว่าคุณห้ามเขาไม่ให้เกิดอันตรายแล้วเด็กจะโกรธ เด็กก็ยังรักคุณอยู่ดี ถึงแม้ว่าคุณจะหยุดเขาด้วยคำว่า ?อย่า หรือ ไม่?

2. คนในบ้านต้องร่วมมือกันรักษากฎเกณฑ์อย่างสม่ำเสมอเรื่องนี้สำคัญถ้าทำเป็นประจำแล้วจะเกิดเป็นนิสัยก่อนเข้าโรงเรียน กฎที่ฝึกหัดให้เด็กต้องทำอย่างเคร่งครัดได้แก่ ต้องนั่งในที่นั่งสำหรับเด็ก (car seat) ซึ่งจะมีเข็มขัดล๊อคให้เด็กปลอดภัยเวลานั่งรถยนต์ ห้ามตีคนอื่น ออกจากบ้านตรงเวลาในตอนเช้าถ้าเข้าไปรงเรียนอนุบาล เข้านอนตามเวลาที่กำหนดไว้ เป็นต้น กฎเหล่านี้เด็กจะต้องปฏิบัติโดยไม่มีข้อต่อรอง หรือเลือกไม่ปฏิบัติเพราะไม่มีให้เลือกส่วนการตัดสินใจ เด็กมีสิทธิ์ตัดสินใจเองว่าจะเลือกกับข้าวอะไร อ่านหนังสือเล่มไหน จะเอาของเล่นชิ้นไหนไปเล่นในอ่างอาบน้ำด้วย เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ เป็นต้น ผู้ใหญ่จะต้องทำให้เด็กเข้าใจว่าอะไรที่เขาเลือกได้ และอะไรที่เขาต้องทำตามกฎ แต่ต้องไม่มีกฎเกณฑ์มากเกินไป ควรมีกฎไม่เกิน 10 และต้องเป็นกฎผู้ใหญ่ทุกคนจะปฏิบัติต่อเด็กเหมือน ๆ กัน

3. เด็กต้องร้องไห้ การร้องไห้เป็นการแสดงความไม่สบายซึ่งผู้ใหญ่จะต้องแยกให้ออกว่าเด็กร้องเพราะอะไร เจ็บปวด หิว หรือกลัว ถ้าเป็นกรณีดังกล่าวให้รีบตอบสนองทันที แต่ถ้าร้องเพราะเรื่องอื่นไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ร้องเพื่อแสดงความต้องการที่ไม่จำเป็นนัก หรือแสดงอารมณ์ร้ายก็เฉยไว้ แต่อย่าลงโทษ หรือตีเด็กให้เด็กเงียบ การตีทำให้เด็กเจ็บแล้วเขาจะเงียบได้อย่างไร แต่ถ้าเขาร้องไห้เพราะต้องทำตามกฎก็ปล่อยให้ร้องแต่จะกอด หรือให้ไปร่วมกิจกรรมที่เขาชอบ เมื่อเขาไม่ร้องหรือแสดงอารมณ์ร้าย

4. อย่าให้การแสดงอารมณ์ร้ายของเด็กได้ผลเมื่อเด็กแสดงอารมณ์ร้ายเพื่อให้ผู้ใหญ่สนใจทำให้คุณเหนื่อย ให้คุณเปลี่ยนใจ หลีกเลี่ยงให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาต้องการแต่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องใจแข็งไว้ เด็กบางคนกลั้นหายใจ ทิ้งตัวลงนอนดิ้น ตะโกนเสียงดังหรือกระแทกประตู ให้ผู้ใหญ่ดูอยู่ห่าง ๆ หรือถ้าเขาอยู่ในที่ที่ปลอดภัยอาจให้เด็กอยู่ตามลำพังแสดงอารมณ์จนพอใจ แล้วเขาจะหยุดเอง จึงค่อยพูดกับเขาว่าทำไม่ถึงทำไม่ได้

5. อย่าละเลยการฝึกระเบียบวินัยพ่อแม่ที่ทำงานนอกบ้านใช้เวลาตอนเย็นและค่ำกับลูกเป็นเวลาที่มีความสุข แต่ก็ยังต้องรักษากฎเกณฑ์โดยตลอด ถ้าประพฤติไม่ถูกต้องก็ต้องเตือน ถึงแม้ว่าจะอยู่ต่อหน้าแขกก็อาจจะต้องแยกตัวพาลูกไปคุยกัน

6. พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเป็นผู้มีอำนาจในการรักษากฎเกณฑ์และตัดสินใจเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก วิธีการออกเสียงว่าจะทำหรือไม่ ควรจะต้องรอเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และมีประสบการณ์ก่อน วัยรุ่นวัย 14 ถึง 16 ปี อาจจะพูดจาต่อรองผู้ใหญ่ ก็ควรให้โอกาสและฟังเหตุผล

7. สอนให้เด็กรู้จักหาอะไรเล่นหรือทำเพื่อเขาจะได้ไม่เบื่อหน้าที่ของผู้ใหญ่คือ หาของเล่น หนังสือ และเครื่องประดิษฐ์เล่นสำหรับเด็กไว้บ้างให้เด็กได้เล่น ผู้ใหญ่เล่นกับเด็กวันละหลายชั่วโมง แต่เด็กก็ควรจะเล่นเองได้เวลาที่ผู้ใหญ่ติดงาน เช่น เด็กอายุ 1 ปี อาจเล่นคนเดียวได้นาน 15 นาที อายุ 3 ปี เล่นคนเดียวประมาณครึ่งหนึ่ง ที่เหลือเล่นกับคนเลี้ยงหรือเพื่อน แต่ถ้าพ่อแม่ยุ่งมากไม่มีเวลาเล่นกับลูกเลย อาจให้ลูกเข้าโรงเรียนก่อนอนุบาล ให้ลูกรู้จักเล่นกับเพื่อน เรียนการพูดการสังคมจะได้ไม่เบื่อ

8. สอนให้ลูกรู้จักรอการรอช่วยให้เด็กๆ จัดการกับความหงุดหงิดไม่ได้อย่างใจได้ดีขึ้น ชีวิตการทำงานของผู้ใหญ่ย่อมมีสิ่งขัดข้องไม่เป็นอย่างที่อยากให้เป็นเสมอ จึงต้องฝึกให้เด็กได้เรียนรู้และถือปฏิบัติ การฝึกให้เด็กรอ เช่นไม่ยอมให้เด็กจัดจังหวะ ขณะที่คุณกำลังพูดกับผู้อื่นหรือกำลังพูดโทรศัพท์อยู่

9. อย่าปล่อยให้ขาดโอกาสการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความท้าทายบางอย่างของชีวิตการเปลี่ยนแปลงเช่น การย้ายบ้าน การเริ่มไปโรงเรียนเป็นความเครียดปกติของชีวิต สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้และแก้ปัญหา ให้เขาได้ทำด้วยตนเอง แต่ผู้ใหญ่ต้องให้กำลังใจสนับสนุนให้เขาจัดการกับสิ่งแปลกใหม่ จนเกิดความมั่นใจ

10. อย่าชมเชยเด็กมากเกินไปเด็กต้องการให้ชม แต่ถ้าทำมากเกินก็ไม่ดี ควรชมเชยเมื่อประพฤติดี เช่นเล่นของเล่นแล้วเก็บเข้าที่ หรือทำตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกครั้ง ส่งเสริมให้เด็กทำสิ่งใหม่และยากขึ้น ให้โอกาสเด็กได้ทำสิ่งที่เขามีเหตุผล การชมบ่อย ๆ อาจจะทำให้เด็กหยุดชะงักเพราะเขาคิดว่าทำดีแล้ว ควรชมแต่พอเหมาะ

11. สอนให้ลูกเคารพสิทธิของพ่อแม่และเวลาคุณภาพความต้องการของเด็กเกี่ยวกับอาหาร เสื้อผ้า ความปลอดภัย และความมั่นคงมาก่อนอย่างอื่น ถ้าลูกต้องการเล่นด้วยหรือให้เล่านิทานให้ฟัง จะต้องทำหลังจากเขาได้ทำสิ่งที่ต้องทำก่อน แล้วจึงใช้เวลาส่วนที่เหลือให้มีคุณภาพที่สุด เวลาคุณภาพหมายถึง เวลาที่ทำให้ทุกคนสนุก มีปฏิสัมพันธ์และมุ่งไปที่เด็ก เด็กต้องการเวลาคุณภาพจากพ่อแม่ทุกวัน พ่อแม่ควรจะทำเวลาที่อยู่กับลูกให้มีคุณภาพ เด็กก็จะรักและไว้ใจผู้ใหญ่และรู้สึกอบอุ่น ถึงแม้ว่าจะต้องมีภาระที่จะต้องแยกไปปฏิบัติเพื่อการดำรงชีวิต แต่ในตอนเย็นและวันหยุด พ่อแม่ลูกใช้เวลาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

เรียบเรียงจาก Child Book Award โดย Barton D. Schmitt : Your Child?s Health

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?