มุมมอง
การตรวจอัลตราซาวนด์ ในสตรีตั้งครรภ์
การตรวจอัลตร้าซาวด์เมื่อตั้งครรภ์ จำเป็นหรือไม่ มีอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่ และเมื่อตรวจแล้วจะสามารถรู้อะไรได้บ้าง ที่นี่มีคำตอบค่ะ
อัลตราซาวนด์คืออะไร เสียงที่เราได้ยินหรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า "SOUND"(ซาวนด์) เกิดจากการสั่นสะเทือน ของวัตถุ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียง โดยปล่อยเป็นคลื่นออกมากระทบกับตัวรับคลื่น เช่น ในคนเรา ตัวรับคลื่นคือหู คลื่นเสียงที่ปล่อยออกมาในแต่ละวินาทีจะมีจำนวนมากน้อย แล้วแต่การสั่นสะเทือนของ แหล่งกำเนิดเสียง ถ้าปล่อยคลื่นเสียง ด้วยความถี่ในช่วงประมาณ 20-20,000 คลื่นต่อวินาที ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มนุษย์ได้ยิน อยู่ในชีวิตประจำวัน จะเรียกว่า คลื่นเสียงปกติ (NORMAL SOUND) แต่ถ้าปล่อยคลื่นเสียง ด้วยความถี่น้อยกว่านี้ เราจะเรียกว่า คลื่นเสียงความถี่ต่ำ หรือ อินฟราซาวนด์(INFRASOUND) ในทางตรงกันข้าม คลื่นเสียงที่มี ความถี่สูงมากกว่าคลื่นเสียงปกติ จะเรียกว่า อัลตราซาวนด์ (ULTRASOUND) คลื่นเสียง ที่มีความถี่สูง ๆ คนเราจะ ไม่สามารถได้ยิน แต่สัตว์บางชนิด อาจได้ยินได้เช่น สุนัขจะได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงกว่ามนุษย์ จากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่า ถ้าเราปล่อยคลื่นเสียง ที่มีความถี่สูง ให้ไปกระทบ กับวัตถุต่าง ๆ คลื่นจะสามารถสะท้อนกลับ และแปลงเป็นรูปภาพได้จากความรู้ดังกล่าว จึงมีผู้คิดสร้างเครื่องเสียง ไปกระทบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วสะท้อนกลับมา ปรากฏเป็นภาพบนจอภาพได้ส่วนประกอบของเครื่องอัลตราซาวนด
เครื่องอัลตราซาวนด์มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
1.หัวตรวจ(PROBE)
ส่วน นี้จะเป็นแหล่ง ให้กำเนิดคลื่น เสียง ความถี่สูง รวมทั้งเป็นส่วนที่จะรับคลื่นเสียง ที่สะท้อนกลับมาภายหลังไปกระทบกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายหัวตรวจมีได้หลายลักษณะ เช่นเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ปลายเรียบ หรือปลายโค้งมน ซึ่งมักจะใช้ตรวจทางหน้าท้อง หรือเป็นแท่งยาว เพื่อใช้ตรวจผ่าน ทางช่องคลอด
2.จอรับภาพ ( SCREEN)
มีลักษณะคล้ายกับจอโทรทัศน์ มีหน้าที่แปลงสัญญาณคลื่นเสียงให้ออกมาเป็นภาพ
3.แผงปุ่มควบคุมการปฏิบัติงาน ( OPERATING UNIT )
มี ลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ ให้การบันทึกข้อมูล หรือคำนวณค่าความยาวของส่วนต่าง ๆ ของทารกเพื่อการแปลผล
" เรียบเรียงจากคู่มือสำหรับสตรีตั้งครรภ์ "การตรวจอัลตราซาวนด์ในสตรีตั้งครรภ์"
โดย นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ พรเพ็ญ ตันติศิรินทร์สาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติ-นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล