คุมน้ำหนักให้พอดียามท้อง
คุมน้ำหนักให้พอดียามท้อง
หนึ่งในศิลปะในการดูแลสุขภาพของแม่ท้องเริ่มต้นด้วยการใส่ใจเรื่องน้ำหนัก และดูแลอาหารการกินให้พอเหมาะ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และคุณลูกนั่นเอง ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์แบบนี้ ทุกส่วนของร่างกายย่อมมีการยืดขยายไปตามสรีระที่เปลี่ยนแปลง แต่อย่าให้มากเกินไป ควบคุมให้อยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ ไตรมาสแรกควรเพิ่ม 1-1.5 กิโลกรัม ไตรมาสที่ 2 ควรเพิ่มอีก 4-5 กิโลกรัม


ภาพจาก kapook.com

คุมน้ำหนักให้พอดียามท้อง

หนึ่งในศิลปะในการดูแลสุขภาพของแม่ท้องเริ่มต้นด้วยการใส่ใจเรื่องน้ำหนัก และดูแลอาหารการกินให้พอเหมาะ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และคุณลูกนั่นเอง

ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์แบบนี้ ทุกส่วนของร่างกายย่อมมีการยืดขยายไปตามสรีระที่เปลี่ยนแปลง แต่อย่าให้มากเกินไป ควบคุมให้อยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ ไตรมาสแรกควรเพิ่ม 1-1.5 กิโลกรัม ไตรมาสที่ 2 ควรเพิ่มอีก 4-5 กิโลกรัม และไตรมาสที่ 3 ควรเพิ่มอีก 5-6 กิโลกรัม โดยรวมแล้วน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 12-15 กิโลกรัม เพราะถ้าน้ำหนักเพิ่มมากหรือน้อยกว่านี้ โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ก็จะเพิ่มมากขึ้นได้ ถ้าคุณแม่น้ำหนักตัวมากกกว่าเกณฑ์ปกติอาจจะมีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดสูง กว่าปกติ เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีโอกาสเกิดอาการครรภ์เป็นพิษสูง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มน้อยไป ลูกในท้องก็เสี่ยงภาวะเจริญเติบโตช้า เพราะรกทำงานผิดปกติ หรือน้ำหนักที่ขึ้นน้อยอาจเกิดจากตัวลูกมีความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิดก็ ได้

การคุมน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ 
เพียงแต่จะต้องควบคุมให้ถูกต้อง เพื่อให้สารอาหารต่างๆ สมดุลเพียงพอต่อการไปเลี้ยงดูลูกน้อยในครรภ์และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อ ทั้งตัวคุณแม่และลูก เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก แต่ใช้หลักการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ครบคุณค่าจะดีกว่า ไม่กินจุบจิบหลังจากที่อาการแพ้ท้องหายแล้ว ส่วนการกินอาหารเสริมแทบจะไม่จำเป็น ถ้าคุณแม่เลือกกินอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่ เพราะการกินอาหารเสริมมากอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากกกว่าปกติ เรียกว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดีด้วยซ้ำไป นอกจากอาหารที่ควรควบคุมแล้ว สารอาหารอื่นๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ยังคงต้องกินเหมือนเดิม เพราะสารอาหารเหล่านั้นมีประโยชน์สำหรับทั้งคุณแม่และคุณลูก และห้ามลดปริมาณลงเด็ดขาดก็คือ

ภาพจาก maerakluke.com
  • โปรตีน เพราะสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูกในครรภ์ ปกติร่างกายจะต้องการโปรตีนวันละ 0.8-1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องการโปรตีนเพิ่มจากเดิมอีก 7-10 กรัม ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
  • แคลเซียม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องการปริมาณแคลเซี่ยม 1,200 มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 กล่องต่อวัน
  • เหล็ก ร่างกายจะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจาเนื้อสัตว์หรือนมได้ดีกว่าธาตุเหล็กที่ อยู่ในผัก และหากขาดธาตุเหล็กจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางทั้งในแม่และลูก และอาจจะส่งผลให้ตกเลือดขณะคลอดได้ ส่วนใหญ่ธาตุเหล็กแฝงอยู่กับอาหารชนิดอื่นๆ ด้วยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กได้
  • โฟเลต เป็นวิตามินจำเป็นในการสร้าง DNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมจำเป็นในการแบ่งเซลล์ การสร้างเม็ดเลือดแดง และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการโฟเลตมากกว่าเดิมถึง 1 เท่าตัว และถึงคุณหมอจะให้โฟเลตเม็ดเสริมมาแล้ว คุณแม่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และเน้นผักใบเขียวซึ่งเป็นแหล่งโฟเลตอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลจากนิตยสาร ModernMom



ปฏิกิริยาของคุณ?