มะดัน สรรพคุณและประโยชน์
มะดัน  สรรพคุณและประโยชน์
ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ


สมุนไพร มะดัน

สมุนไพร มะดัน ชื่อสามัญ Madan (ตรงตัว)

สมุนไพร มะดัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana Pierre จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)

สมุนไพรมะดัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ลักษณะของต้นมะดันมีดังนี้

ใบมะดัน เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น

ดอกมะดัน เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน และดอกเพศจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10-12 อัน

ผลมะดัน หรือ ลูกมะดัน ลักษณะของผลจะคล้ายรูปรีปลายแหลม ผลมีสีเขียว ลักษณะผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด ด้านในผลมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ดติดกัน เมล็ดแข็งและขรุขระ โดยในผลจะมีวิตามินซีสูงและยังมีสารอาหารหรือสารสำคัญอย่างเบตาแคโรทีน รวมไปถึงแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

สรรพคุณของมะดัน

  1. ในทางเภสัชวิทยาพบว่ามะดันมีสารสำคัญซึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้
  2. สรรพคุณมะดัน ผลช่วยแก้อาการคอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มชื่นคอ (ผล)
  3. ใบและรากปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้กระษัย (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  4. ใบปรุงเป็นยาต้ม ช่วยขับฟอกโลหิต (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้เบาหวาน (ราก)
  6. มะดันมีสรรพคุณช่วยรักษาไข้หวัด (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  7. ช่วยแก้ไข้ทับระดู (รก, ราก, เปลือกต้น)
  8. ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการทำเป็นยาสูตรดองเปรี้ยวเค็ม (ใบ, ผล)
  10. ใช้เป็นยาแก้เสมหะ เสมหะพิการ กัดเสมหะในลำคอได้เป็นอย่างดี หรือจะปรุงเป็นยาต้มกินก็ได้ (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  11. สรรพคุณของมะดัน ผลใช้ทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม ช่วยฟอกเสมหะ ล้างเสมหะ (ผล)ลูกมะดัน
  12. ผลมะดันนำมาดองน้ำเกลือ ใช้รับประทานเพื่อแก้อาการน้ำลายเหนียวหรือเป็นเมือกในลำคอ (ผล)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , rspg , หมอชาวบ้าน ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?