ว่านชักมดลูก สรรพคุณและประโยชน์
ว่านชักมดลูก สรรพคุณและประโยชน์
สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทยนั้น จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี


สมุนไพร ว่านชักมดลูก

สมุนไพร ว่านชักมดลูก จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินและมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูกที่พบได้ตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.) ซึ่งจะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น (ตามภาพแรก) และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe) จะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า (ตามภาพที่สอง) ทำให้การซื้อมาใช้บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก เพราะบางครั้งเมื่อนำมาเทียบกันทั้งตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก โดยจะปลูกมากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ยังได้พบว่ามีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่านชักมดลูกของไทยมาก และมีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน โดยเป็นว่านชัดมดลูกที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma zanthorrhiza Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Curcuma xanthorrhiza Roxb.)

สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทยนั้น จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น จากสรรพคุณดังกล่าวนักวิจัยก็ได้ตีความว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ แม้จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ตาม และเรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งวงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นการเลือกว่านชักมดลูกมาเป็นวัตถุดิบให้ถูกต้องเพื่อใช้ทำยาสมุนไพรจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสรรพคุณที่ต้องการ

สำหรับวิธีกินว่านชักมดลูกหัวสด ๆ ให้เอาหัวว่านชักมดลูกมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นชนิดสำเร็จรูปก็ให้รับประทานตามที่ระบุไว้ข้างขวดได้เลย

สรรพคุณของยาว่านชักมดลูก

1.ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป

2.ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร

3.ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

4.ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดหรือในมดลูก

5.ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง

6.ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป

7.ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง

8.ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว

9.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย

10.ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง

ขอบคุณ ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , mahidol  ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?