มุมมอง
สมุนไพร ขี้เหล็ก
สมุนไพร ขี้เหล็ก ชื่อสามัญ Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod
สมุนไพร ขี้เหล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Lam.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว FABACEAE,LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ CAESALPINIOIDEAE,CAESALPINIACEAE
สมุนไพรขี้เหล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง,สุราษฎร์ธานี), ผักจี้ลี้ แมะขี้แหละพะโด (แม่ฮ่องสอน), ยะหา (ปัตตานี), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะของต้นขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบนกว้าง 1.4 เซนติเมตร ยาว 15-23 เซนติเมตร มีความหนา มีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด
ขี้เหล็กลักษณะของใบขี้เหล็ก เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีใบย่อยรูปรี 5-12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ โดยใบขี้เหล็ก 100 กรัมจะมีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม, โปรตีน 7.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม, พลังงาน 87 กิโลแคลอรี
ลักษณะของดอกขี้เหล็ก จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลมมี 3-4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะยาว 1-1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้หลายเกสร และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลาย ดอกขี้เหล็กก็จัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมีวิตามินซีมากถึง 484 มิลลิกรัมต่อดอกขี้เหล็ก 100 กรัม และยังมีเบต้าแคโรทีน 0.2 กรัม, ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 9.8 กรัม, โปรตีน 4.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม และให้พลังงาน 98 กิโลแคลอรี
สรรพคุณของขี้เหล็ก
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
- ช่วยรักษาวัณโรค (แก่น)
- ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ดอก)
- ช่วยรักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (แก่น)
- ช่วยแก้อาการชักในเด็ก (ราก)
- แก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้อาการแสบตา (แก่น)
- แก้เลือดกำเดาไหล (ต้น, ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง (ราก)
- ช่วยดับพิษไข้ (เปลือกต้น, ทั้งต้น)
- ช่วยแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ (เปลือกต้น, ฝัก)
- ช่วยแก้พิษเสมหะ (ทั้งต้น)
- ช่วยกำจัดเสมหะ (ใบ)
- ช่วยขับมุตกิด กัดเถาดาน กัดเสมหะ และกัดเมือกในลำไส้ (เปลือกฝัก)
- ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน (ใบ)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)
- แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบแห้ง, ใบอ่อน)
- ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ใบอ่อน, แก่น)
- ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
ขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต