ถั่วแปบ สรรพคุณและประโยชน์
ถั่วแปบ สรรพคุณและประโยชน์
ต้นถั่วแปบ จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันที่มีอายุหลายปี ลักษณะของเรือนยอดเป็นรูปทรงกระบอก มีลำต้นอยู่เหนือดิน ตั้งตรงเองไม่ได้ และจะใช้ส่วนของลำต้นเกี่ยวพัน ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.3 เมตร และมีลำต้นหรือเถายาวหรือกว้างได้ถึง 4-6 เมตร โดยเถามีลักษณะกลมสีเขียวและมีขนสีขาวขึ้นอยู่ประปราย


ถั่วแปบ สรรพคุณและประโยชน์

ถั่วแปบ ชื่อสามัญ Hyacinth bean, Dolichos bean, Seim bean, Lablab bean, Egyptian kidney bean, Indian bean, และ Australian pea

ถั่วแปบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Lablab purpureus (L.) Sweet[2] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dolichos lablab L., Dolichos purpureus L., Lablab niger Medik., Lablab lablab (L.) Lyons[6], Lablab vulgaris var. albiflorus DC., Vigna aristata Piper) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรถั่วแปบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วแปบขาว, ถั่วหนัง, หมากแปบ, มะแปบ (เชียงใหม่), ถั่วแปบน้อย แปบปลาซิว (สกลนคร), ถั่วแปะยี (ภาคเหนือ), กวาวน้ำ ถั่วหนัง ถั่วแล้ง มะแปน ถั่วแปยี ถั่วมะเปกี (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), โบ่บ๊ะซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เป๊าะบ่าสะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กู๊เบเส่, กู๊เบอีโท้, กู๊เบผ่าบุ๊ (กะเหรี่ยงแดง), แผละแถะ (ลั้วะ), เบล่เปยี่ (ปะหล่อง), เซียงหวังตบ (เมี่ยน) เป็นต้น โดยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบร้อนของทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทยด้วย จึงพบว่ามีสายพันธุ์ที่หลากหลายมาก จนอาจกล่าวได้ว่าถั่วแปบเป็นพืชที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์มากที่สุดในบรรดาผักในบ้านเราเลยก็ว่าได้

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ระบุความหมายของคำว่า “แปบ” โดยอธิบายไว้ว่า แปบเป็นคำวิเศษณ์ ซึ่งแปลว่า “แบน” ซึ่งสอดคล้องกับหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ พ.ศ.๒๔๑๖ ที่อธิบายไว้ว่า “แปบ แฟบ คือ ลีบเล็ก แบนเหมือนข้าวลีบนั้น” จึงทำให้เห็นว่าคนไทยจะใช้คำว่าแปบและแฟบในความหมายเดียวกัน แต่ในปัจจุบันจะใช้เพียงคำว่า “แฟบ” และคำว่าแปบนั้น นอกจากจะนำมาใช้เป็นชื่อผักแล้ว ยังใช้เป็นชื่อเรียกของขนมและชื่อของปลาอีกด้วย ได้แก่ “ขนมถั่วแปบ” (ขนมที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ต้มคลุกกับเนื้อมะพร้าวทำเป็นแผ่นหุ้มห่อไส้ด้วยถั่วเขียวเราะเปลือก โรยด้วยงาและน้ำตา โดยขนมชนิดนี้จะมีลักษณะแบน ๆ คล้ายกับถั่วแปบ) และ “ปลาแปบ” นั้น ได้อธิบายไว้ว่าคือชื่อเรียกขอปลาน้ำจืดที่มีลำตัวแบนชนิดหนึ่ง

ภาพจาก matichonweekly.com

ลักษณะของถั่วแปบ

ต้นถั่วแปบ จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันที่มีอายุหลายปี ลักษณะของเรือนยอดเป็นรูปทรงกระบอก มีลำต้นอยู่เหนือดิน ตั้งตรงเองไม่ได้ และจะใช้ส่วนของลำต้นเกี่ยวพัน ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.3 เมตร และมีลำต้นหรือเถายาวหรือกว้างได้ถึง 4-6 เมตร โดยเถามีลักษณะกลมสีเขียวและมีขนสีขาวขึ้นอยู่ประปราย ไม่อวบน้ำ มีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี และชอบแสงแดดจัด โดยสามารถพบได้ทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ใบถั่วแปบ มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกัน ใบย่อยที่ปลายลักษณะเป็นรูปไข่ ส่วนใบย่อยด้านข้างมีลักษณะเป็นรูปไข่เบี้ยว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร มีหูใบย่อย แผ่นใบมีขนบาง ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว

ดอกถั่วแปบ ออกดอกเป็นช่อกระจะตามซอกระหว่างก้านใบกับกิ่ง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ในช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะของดอกถั่วแปบจะเหมือนกับดอกถั่วทั่ว ๆ ไป กลีบดอกเป็นสีม่วงหรือสีขาวแยกออกจากกัน และมีจำนวน 3 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปไต ส่วนกลีบรองดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวน 3 อัน มีเกสรตัวเมียสีเหลืองอีกจำนวน 1 อัน ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ดอกไม่มีกลิ่น

ผลถั่วแปบ หรือ ฝักถั่วแปบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนยาวและโค้งงอ ปลายผลเป็นจะงอย ลักษณะของผลมี 2 ชนิด คือ ฝักแบนและฝักกลม ผิวผลเรียบและเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีม่วง สันฝักนูนขรุขระเป็นสีเขียวอ่อนยาวประมาณ 2 นิ้ว ในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่กลม มีสีหลากหลายไปตามสายพันธุ์ ตั้งแต่สีครีม สีขาวเหลือง สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีแดงหรือมีลาย

ภาพจาก noolin1234.blogspot.com

สรรพคุณและประโยชน์ของถั่วแปบ

  1. เมล็ดมีรสหวานมัน ช่วยบำรุงกำลัง แก่อาการอ่อนเพลีย (ผล, เมล็ด)
  2. ผลใช้รับประทานเป็นอาหารบำรุงร่างกาย (ผล)
  3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
  4. ช่วยแก้โรคตา (เมล็ด) บ้างก็ว่าใช้รากในการรักษาโรคตา (ราก)
  5. ผลหรือเมล็ดถั่วแปบช่วยลดไข้ แก้ไข้ แก้ไข้สัมประชวร (เมล็ด)
  6. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบแห้ง (ทั้งต้น) แก้คอแห้ง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  7. ช่วยแก้เสมหะในร่างกาย (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้อาการแพ้ (ผล)
  9. ช่วยดับร้อน ถอนพิษ ขจัดความชื้น และช่วยถอนพิษสุรา (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  10. ช่วยระงับอาเจียน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  11. ช่วยแก้อาการเมาค้าง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  12. ช่วยแก้ลม (เมล็ด)
  13. ใบนำมาตำใช้พอกรักษาโรคคางทูม (ใบ)
  14. รากของถั่วแปบช่วยแก้โรคซาง (ราก)
  15. ช่วยบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.)
ภาพจาก : pantip



ปฏิกิริยาของคุณ?