ชุมเห็ดเทศ สรรพคุณและประโยชน์
ชุมเห็ดเทศ สรรพคุณและประโยชน์
ต้นชุมเห็ดเทศ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นแนวขนานกับพื้นดิน กิ่งจะแผ่ออกทางด้านข้าง มีขนสั้นนุ่ม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ไม่ชอบที่ร่ม สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด


ชุมเห็ดเทศ สรรพคุณและประโยชน์

ชุมเห็ดเทศ ชื่อสามัญ Acapulo, Candelabra bush, Candle bush, Candlestick senna, Christmas candle, Empress candle plant, Impetigo bush, Ringworm bush, Ringworm senna, Ringworm shru, Seven golden candlestick

ชุมเห็ดเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alata (L.) Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia alata L., Cassia bracteata L.f., Herpetica alata (L.) Raf.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มเห็ด (เชียงราย), จุมเห็ด (มหาสารคาม), ขี้คาก ลับมืนหลวง[1] ลับหมื่นหลวง[3] ลับมืนหลาว[4] หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ), ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ชุมเห็ดเทศ (ภาคกลาง), ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง (จีน), ตุ้ยเย่โต้ว (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นแนวขนานกับพื้นดิน กิ่งจะแผ่ออกทางด้านข้าง มีขนสั้นนุ่ม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ไม่ชอบที่ร่ม สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด พรรณไม้ชนิดนี้ไม่ต้องการความเอาใจใส่ ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้โตขึ้นเองได้ พบขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ทั้งบนที่ราบหรือบนภูเขาสูงจนถึง 1,500 เมตร

ใบชุมเห็ดเทศ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบโค้งมนหรือหยัก โคนใบมนเว้าเข้าหากันเล็กน้อย โคนใบทั้งสองด้านไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเรียบเป็นสีแดง ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว แก่นกลางใบหนา ก้านใบรวมยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบประกอบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีหูใบลักษณะเป็นรูปติ่งหู สามเหลี่ยม ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ติดทน เมื่อนำใบมาอบให้แห้งแล้วจะเป็นสีน้ำตาลอมเขียวถึงสีน้ำตาล ส่วนผงที่ได้เป็นสีน้ำตาลอมเขียว มีกลิ่นอ่อน ๆ รสเบื่อเอียนและขมเล็กน้อย

ดอกชุมเห็ดเทศ ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตั้ง โดยจะออกตามซอกใบและตามปลายกิ่ง ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะแคบ ๆ ยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองทอง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่เกือบกลมหรือเป็นรูปช้อน ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีก้านกลีบสั้น ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 9-10 ก้าน โดยมีเกสรอันยาว 2 ก้าน (ก้านเกสรหนา ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1.2-1.3 เซนติเมตร) เกสรอันสั้น 4 ก้าน (ก้านเกสรจะยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร) และเกสรเพศผู้ที่ลดรูปอีก 4 ก้าน อับเรณูเปิดที่ปลาย รังไข่เกลี้ยง มีออวุลจำนวนมาก ยอดเกสรมีขนาดเล็ก มีใบประดับเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลืองหุ้มดอกที่ยังไม่บาน ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย ก้านดอกสั้น ยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมในตาดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวไม่เท่ากัน โดยจะยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร

ผลชุมเห็ดเทศ ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปแถบ ยาว แบน และเกลี้ยงไม่มีขน ฝักมีขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีสันหรือปีกกว้าง 4 ปีก ปีกกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตรตามความยาวของฝัก ฝักมีผนังกั้น ฝักเมื่อแก่จะเป็นสีดำและแตกตามยาว ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 50-60 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีดำ มีผิวขรุขระ เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร

ภาพจาก : sites.google.com

สรรพคุณและประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

  1. รากชุมเห็ดเทศใช้ผสมยาบำรุงธาตุ (ราก)
  2. ใช้ใบชาชุมเห็ดเทศนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ (ใบ)
  3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)
  4. หากดื่มยาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  5. ชาชุมเห็ดเทศใช้ชงกับน้ำดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  6. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที ใช้แบ่งน้ำมาดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือจะใช้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดเป็นปกติดีแล้วก็ให้ต้มใบยอดื่มอีก 3 สัปดาห์ ก็จะหายขาดจากโรคเบาหวาน (ใบ)
  7. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้เส้นประสาทอักเสบ (ใบ)
  9. ช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ (ใบ, ราก, ต้น)
  10. เมล็ดช่วยแก้ตานซาง ถ่ายพิษตานซาง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง (เมล็ด, ทั้งต้น)
  11. ช่วยรักษาโรคตาเหลือง (ราก)
  12. ช่วยแก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)
  13. ช่วยแก้กษัยเส้น (ใบ, ราก, ต้น)
  14. ใบและดอกนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้หืด (ใบและดอก)
  15. รากและทั้งต้นเป็นยาถ่ายเสมหะ (ราก, ทั้งต้น)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน
ภาพจาก : prayod



ปฏิกิริยาของคุณ?