คำไทย สรรพคุณและประโยชน์
คำไทย สรรพคุณและประโยชน์
ต้นคำไทย หรือ ต้นคำแสด เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอเมริกาตอนกลาง ต่อมาได้ขยายไปทางเหนือและใต้ เช่น เม็กซิโก บราซิล และกัวเตมาลา ก่อนจะถูกนำไปปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วโลก โดยต้นคําไทยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 3-8 เมตร


คำไทย สรรพคุณและประโยชน์

คำไทย ชื่อสามัญ Anatto tree

คําไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Bixa orellana L. จัดอยู่ในวงศ์คำแสด (BIXACEAE)

สมุนไพรคำไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คำเงาะ คำแงะ คำแฝด คําแสด (กรุงเทพฯ), ซิติหมัก (เลย), แสด มะกายหยุม (ภาคเหนือ), ชาตรี (ภาคอีสาน), ชาด ดอกชาติ (ภาคใต้), หมากมอง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), จำปู้ ส้มปู้ (เขมร-สุรินทร์), คำยง ชาตี ชาดี (เขมร) เป็นต้น

หมายเหตุ : ต้นคำไทยในบทความนี้เป็นพันธุ์ไม้คนละชนิดกันกับต้นคําแสด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mallotus philippensis Mull.arg. ที่จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เนื่องจากทั้งสองชนิดมีชื่อท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า “คําแสด” จึงอาจทำให้เกิดความสับสนได้ หากต้องการอ่านบทความดังกล่าว ท่านสามารถอ่านได้ที่ คำแสด

ลักษณะของคำไทย

ต้นคำไทย หรือ ต้นคำแสด เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอเมริกาตอนกลาง ต่อมาได้ขยายไปทางเหนือและใต้ เช่น เม็กซิโก บราซิล และกัวเตมาลา ก่อนจะถูกนำไปปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วโลก โดยต้นคําไทยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 3-8 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมหนาทึบ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และการตัดกิ่งเพื่อนำไปปักชำ สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณชื้นและตามป่าดิบแล้ง

ใบคำไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 11-18 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะบางนุ่ม ใบเป็นสีเขียวเหลือบแดง ส่วนใบอ่อนเป็นสีแดง

ดอกคำไทย ออกดอกเป็นช่อตั้ง โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่ยาว และมีกลีบรองดอกขนาดเล็กสีเขียว ดอกอ่อนจะมีลักษณะกลม ผิวสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากและมีเกสรเพศเมียอีก 1 ก้าน ที่รังไข่มีขนรุงรัง ภายในมีช่อง 1 ช่อง และมีไข่อ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก

ผลคำไทย ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายผลแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ ผลเมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

เมล็ดคำไทย เมล็ดเป็นสีน้ำตาลแดง มีลักษณะกลม และมีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงหรือสีแสด

ภาพจาก : medthai.com

สรรพคุณและประโยชน์ของคำไทย

  1. ดอกใช้ปรุงเป็นยาหรือใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงโลหิตให้สมบูรณ์ (ดอก, ราก, เปลือกต้น, เมล็ด) และมีข้อมูลระบุว่ารากเป็นยาบำรุงเลือดลม (ราก)
  2. ดอกใช้ต้มกินเป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (ดอก)
  3. หากความดันโลหิตสูง ให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 1 ฝ่ามือต่อน้ำ 1 ลิตร นำมาต้มเป็นยาดื่มวันละ 3 เวลาจะช่วยลดความดันโลหิตได้ (เปลือกต้น)
  4. รากคําไทยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)
  5. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  6. ช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง (ดอก)
  7. ใบนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้กษัย (ใบ)
  8. หมอพื้นบ้านจะใช้เมล็ดทำเป็นยารักษาอาการไข้ แก้ไข้ (เมล็ด)
  9. ใบหรือเปลือกรากใช้เป็นยาลดไข้ (ใบ, เปลือกราก)
  10. เมล็ดช่วยรักษาไข้มาลาเรีย ส่วนเปลือกรากช่วยป้องกันไข้มาลาเรีย (เมล็ด, เปลือกราก)
  11. เปลือกต้นและเมล็ดช่วยแก้ไข้ทับระดู (เปลือกต้น, เมล็ด)
  12. ช่วยระงับความร้อนภายในร่างกาย (ดอก)
  13. ช่วยขับเสมหะ (เมล็ด)
  14. ช่วยรักษาริดสีดวงที่จมูก ด้วยการใช้ใบนำมาซอยแล้วตากแดดให้แห้ง นำมามวนเป็นยาสูบจะช่วยแก้ริดสีดวงจมูกได้ (ใบ)
  15. ใบช่วยรักษาอาการเจ็บคอ (ใบ)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน
ภาพจาก : thaikasetsart



ปฏิกิริยาของคุณ?