มุมมอง
พลับพลึง สรรพคุณและประโยชน์
พลับพลึง ชื่อสามัญ Giant lily (พลับพลึงดอกแดง) ; Cape lily, Crinum lily (พลับพลึงดอกขาว)
พลับพลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Giant lily (พลับพลึงดอกแดง) ; Cape lily, Crinum lily (พลับพลึงดอกขาว)
พลับพลึง ชื่อพื้นเมือง : พลับพลึง, พลับพลึงดอก (ภาคกลาง) ; ลินัว (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพลับพลึง
พลับพลึง ไม้ล้มลุก (H) ที่มีลำต้นใต้ดิน ลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่ มีโคนก้านใบหนาอวบหุ้มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เนื้อในหัวสีขาว โคนลำต้นที่โผล่เหนือดินสีขาวปนเขียว มีเหยื่อหุ้มสีน้ำตาล เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่หน่อจะแตกรอบ ๆ ต้น
ใบพลับพลึง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ใบจะห่อเล็กน้อย แตกใบหมุนเวียนรอบ ๆ ต้น ดูสง่างาม
ดอกพลับพลึง ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ตอนปลายมีดอกเป็นกระจุกอยู่บนก้านดอกสั้น ๆ เมื่อดอกยังอ่อนอยู่มีกาบสีเหลืองอ่อน ๆ หุ้มอยู่ 2 กาบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบดอกติดกันตอนโคนเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นกลีบแคบ ๆ ยาวเรียวแหลม 6 กลีบ เกสรตัวผู้ 6 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ส่วนตอนปลายเรียวแหลมยาว ปลายเกสรสีแดง โคนขาวอับเรณูสีน้ำตาล
ผลพลับพลึง สีเขียวอ่อน ค่อนข้างกลม
สรรพคุณและประโยชน์ของพลับพลึง
- ใช้เป็นยาระบาย (ใบ)
- ใบใช้ลนไฟ ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อนได้ (ใช้กันในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี)
ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและน้ำดีได้ (ใบ) - ช่วยขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาจนหมด (เมล็ด)
- ใบพลับพลึงสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ (ใบ)
- ใบใช้ทำเป็นยาประคบ สูตรแก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยบำรุงผิว ด้วยการใช้ใบพลับพลึง / ใบมะขาม / ใบส้มป่อย / ใบเปล้า / ใบหนาด / ขมิ้นชัน / ไพล / การบูร / ผิวมะกรูด / เกลือแกง นำมาตำผสมกันแล้วทำเป็นยาประคบ (ใบ)
- ใบใช้ทำเป็นยาประคบเพื่อคลายเส้น ด้วยการใช้ใบพลับพลึง 8 บาท / ไพล 4 บาท / อบเชย 2 บาท / ใบมะขาม 12 บาท / เทียนดำ 1 บาท / เกลือ 1 บาท นำมาตำห่อผ้าแล้วนึ่งให้ร้อน แล้วนำมาใช้ประคบเส้นที่ตึงให้คลายได้ (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าพลิกแพลงได้ ด้วยการใช้ใบพลับพลึงนำมานึ่งไฟให้ใบอ่อนตัวลง แล้วนำมาพันรอบบริเวณที่เจ็บ (ใบ) - ใช้ทำเป็นยาย่างช่วยรักษาอาการเลือดตกใน ตกต้นไม้ หรือควายชน ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง / ใบชมชื่น / ใบหนาด / ใบเปล้าใหญ่ / ใบส้มป่อย นำมาหั่นและตำแล้วนำไปทำยาย่าง (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดกระดูก ด้วยการใช้ใบพลับพลึงตำผสมกับข่าและตะไคร้ นำไปหมกไฟแล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวดกระดูก (ใบ)
- รากพลับพลึงใช้พอกแผลได้ ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล (ราก)
ใบใช้ประคบแก้ถอนพิษได้ดี (ใบ) - รากพลับพลึงสามารถใช้รักษาพิษจากยางน่องได้ (ราก)
ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.)
ภาพจาก : khuntoei