เปิดวิสัยทัศน์แม่ทัพใหม่ IBM ชู “เอไอ-ไฮบริดคลาวด์” ขับเคลื่อนธุรกิจ
เปิดวิสัยทัศน์แม่ทัพใหม่ IBM ชู “เอไอ-ไฮบริดคลาวด์” ขับเคลื่อนธุรกิจ
แม่ทัพ “ไอบีเอ็ม” ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน […] อ่านข่าวต้นฉบับ: เปิดวิสัยทัศน์แม่ทัพใหม่ IBM ชู “เอไอ-ไฮบริดคลาวด์” ขับเคลื่อนธุรกิจ


แม่ทัพ “ไอบีเอ็ม” ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ “The New Era of Sustainable Business Underpinned by AI & Hybrid Cloud โฟกัส 3 ส่วน “พันธมิตร-เทคโนโลยี-พัฒนาคน” ช่วยลูกค้า ทั้งภาครัฐ และเอกชนทรานฟอร์มองค์กรสู่ “ดิจิทัล”

วันที่ 17 มีนาคม 2565 นายสวัสดิ์ อัศดารณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และ Managing Partner กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม คอนซัลติง เปิดเผยถึงเป้าหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจในโอกาสขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำองค์กรว่าจะดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ The New Era of Sustainable Business Underpinned by AI & Hybrid Cloud ที่มุ่งไปยังการสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

โดยจะโฟกัสใน 3 ส่วน คือ 1.การสร้างความร่วมมือ และการเป็นพันธมิตรอย่างยั่งยืน (Sustainable Partnership) กับคู่ค้า และลูกค้า 2. นำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน (Technology for Sustainable Business) และ3.พัฒนาคนรองรับการพัฒนาธุรกิจ และประเทศอย่างยั่งยืน (Talent for Sustainable Growth)

“สิ่งที่ไอบีเอ็มมุ่งมั่นตลอดมากว่า 70 ปีที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย คือการยึดความสำเร็จของลูกค้า และพันธมิตรเป็นสำคัญ ซึ่งการทำงานระหว่างเรากับคู่ค้าและลูกค้าจะเป็นลักษณะที่เรียกว่า โคครีเอชั่น ดังตัวอย่างในธุรกิจธนาคาร ที่เราได้นำเทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนระบบ และโครงการต่างๆ เช่น

ระบบหลักรองรับคอร์แบงค์กิ้ง และธุรกรรมหลายล้านรายการต่อวันมานานหลายทศวรรษของเคแบงก์ ล่าสุดนำ IBM Safer Payment เข้าไปช่วยให้ธนาคารตรวจจับการฉ้อโกงต่าง ๆ ทำให้มอนิเตอร์การชำระเงินหลายพันรายการต่อวินาที และป้องกันการทุจริตในการชำระเงินได้ทุกช่องทาง”

นอกจากนี้ยังร่วมพัฒนาแพลตฟอร์ม Open API กับธนาคารกรุงศรี เชื่อมต่อคู่ค้าในอีโคซิสเต็มของธนาคารเข้ากับบริการดิจิทัล อาทิ การเติมเงินวอลเล็ต โอนเงิน ชำระเงินผ่านมือถือ รีวอร์ด และสินเชื่อต่างๆ โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจระยะกลางปี 2564-2566 เป็นต้น

รวมถึงการร่วมกับเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส (เออาร์วี) พัฒนาแพลตฟอร์ม National Digital Corporate Identity (NCID) ระบบพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลระบบแรกในอาเซียน ช่วยองค์กรและธนาคารไทยดำเนินกระบวนการ KYC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วขึ้น

ด้านนายสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัทเดียวกันเสริมว่า บริษัทมีเป้าหมายในการเข้าไปมช่วยลูกค้า และพันธมิตรวางโร้ดแม็ปเทคโนโลยี และธุรกิจ เพื่อพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่จะรองรับการเติบโต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในยุคของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบไอที และการเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่การสร้างแพลตฟอร์มการให้บริการลูกค้าจะมีความสำคัญ

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงดิสรัปชันที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค โมเดลการทำธุรกิจ ระบบซัพพลายเชน ฯลฯ ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัวต่อเนื่อง และหนึ่งในกุญแจสำคัญด้านเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล คือ ไฮบริดคลาวด์ และเอไอ

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันสำคัญเพียง 25% ที่จัดเก็บอยู่บนคลาวด์ ขณะที่ผลการศึกษาระดับโลกของไอบีเอ็ม เมื่อปลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นถึงความต้องการขององค์กรธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงชัดเจน โดยไม่มีผู้บริหารไทยที่ตอบแบบสำรวจแม้แต่รายเดียวที่ระบุว่ายังใช้คลาวด์จากเวนเดอร์รายเดียว หรือยังใช้พับบลิคคลาวด์อย่างเดียว

สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ของไอบีเอ็ม ที่จะช่วยให้องค์กรเชื่อมโยงระบบและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กร (on-premise) บนพับลิคคลาวด์ และไพรเวทคลาวด์ได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ Develop Once and Deploy Anywhere เพื่อให้เดินหน้าพัฒนา หรือปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันและระบบต่างๆ ได้รวดเร็ว

“โควิด19 ทำให้การเปลี่ยนไปเป็นดิจิทัลสูงกว่า 10 สิบปีที่ผ่านมา หลักๆ ที่ลูกค้าต้องการ คือทำอย่างไรถึงจะปรับให้เร็ว และต้องยืดหยุ่น ทั้งในแง่บิสซิเนสโมเดล และเทคโนโลยี เพราะพฤติกรรมลูกค้า สภาพแวดล้อม และซัพพลายเชนต่าง ๆ เปลี่ยนไป ล่าสุดยังมีความเสี่ยงจากงครามอีก ทุกธุรกิจต้องมีแอปพลิเคชั่น แอป คือธุรกิจ ธุรกิจคือแอป

ซึ่งต้องการอินฟราสตัคเจอร์, ซอฟต์แวร์ และสกิลใหม่ๆ เพราะหลังโควิดคนไม่อยากกลับมาทำงานในสิ่งแวดล้อมแบบเดิมจึงเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรม เมื่อธุรกิจต่างๆ ต้องทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ในแต่ละองค์กรจะไม่มีแพลตฟอร์มเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาอีกอย่าง คือ มีข้อมูลเพิ่มขึ้นมากมาย หลายธุรกิจต้องการใช้เดต้าเพิ่มขีดความสามารถ มีการนำเอไอมาใช้ จึงเป็นโอกาสของไอบีเอ็มในการเข้าไปช่วย”

และจุดแตกต่างที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แต่ละองค์กรได้ คือความสามารถในการไขรหัส และมุมมองเชิงลึกที่ซ่อนอยู่ใน “ข้อมูล”มหาศาล และปีนี้ ไอบีเอ็มจะมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีเอไอสำหรับธุรกิจ (AI for Business) ตั้งแต่อนาไลติกส์ ออโตเมชัน AIOps เทคโนโลยีการคาดการ์

และแจ้งเตือนการซ่อมบำรุงระบบ เป็นต้น พร้อมยีซิเคียวริตี้ระดับโลกจาก IBM Security เข้ามาสนับสนุนเพื่อให้องค์กรก้าวข้ามความท้าทายในการใช้และเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีต่างๆ ภายใต้ปัจจัยผันผวนรอบด้านที่กระทบธุรกิจ

สำหรับการพัฒนาคนในปีนี้ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จะวางแผนร่วมกับพันธมิตรเร่งสร้างและผลิตทรัพยากรบุคคลด้านไอที และดิจิทัล รองรับการเติบโตก้าวกระโดดของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทย ขณะเดียวกันยังจะสนับสนุนการสร้างทักษะที่จำเป็นในสองแนวทางหลัก คือ

1. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ภายใต้โครงการ Academic Initiative หรือหลักสูตรการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยี อาทิ AI, Machine Learning, การใช้งานระบบเมนเฟรม เป็นต้น พร้อม Train the Trainer และส่งผู้เชี่ยวชาญของไอบีเอ็มเป็นวิทยากรให้ความรู้ และ 2.เดินหน้าโครงการ P-TECH สร้างการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเชิงบูรณาการ ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อให้ตรงความต้องการของภาคธุรกิจ ภายใต้หลักสูตร 5 ปี

อ่านข่าวต้นฉบับ: เปิดวิสัยทัศน์แม่ทัพใหม่ IBM ชู “เอไอ-ไฮบริดคลาวด์” ขับเคลื่อนธุรกิจ



ปฏิกิริยาของคุณ?