มุมมอง
ต้นโมกสน มีที่มายังไง มาจากไหน
ต้นโกสน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Croton (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codiaeum Variegatum) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก
ต้นโกสนจุดเริ่มต้นของความเชื่ออันแรงกล้า
โดยผู้ที่นำเอาต้นโกสนมาปลูกในไทยเป็นคนแรกคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงนำเข้ามาปลูกไว้ในพระราชวังบ้านขุนนางวัดหลวง เพราะคำว่า โกสน นั้นเพี้ยนมาจากชื่อภาษาอังกฤษ Croton และดันไปพ้องเสียงกับคำว่า กุศล หรือ กุศลผลบุญ นั้นเอง คนไทยในสมัยโบราณจึงเชื่อว่า ถ้าบ้านไหนที่ปลูกต้นโกสนไว้ในบ้านจะทำให้มีบุญบารมี และยังเชื่ออีกว่าจะช่วยปกป้องคนในบ้านให้ปลอดภัย อยู่เย็นเป็นสุข จึงนิยมปลูกกันไว้ที่บ้านตั่งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน
ประโยชน์ของต้นโกสนที่คุณควรรู้ก่อนจะเริ่มปลูก
หากปลูกตามความเชื่อโบราณเราควรปลูกต้นโกสนในวันอังคาร และปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบ้านเพื่ออวดสีสันของใบที่สวยงาม ให้ได้รับแสงแดดยามเช้า เพราะต้นโกสนเป็นพืชที่ชอบแสงแดดมาก ใครที่ต้องการปลูกไม้มงคลชนิดนี้แต่ไม่มีบริเวณบ้านหรืออยู่คอนโด ขอแนะนำให้นำเขาไปวางไว้ที่ระเบียง หน้าต่าง หรือบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเพียงพอ มีลมพัดผ่าน อากาศถ่ายเทได้ดี ต้นโกสนเป็นต้นไม้ชนิดไม้พุ่ม มักนิยมปลูกในกระถางเพื่อขนาดของพุ่มมีขนาดเล็ก หากปลูกลงดินและดูแลเป็นอย่างดีก็จะมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร
วิธีแยกแยะต้นโกสน
ต้นโกสนมีลักษณะลำต้นตั่งตรง สามารถสูงได้ถึง 2-5 เมตร ใบแตกออกจากลำต้นและยอด ลักษณะใบของต้นโกสนมีทั้งแบบกลม แบบเรียบยาว ใบแฉก ใบขดเป็นเกลียว เป็นต้น ส่วนสีสันนั้นมีความหลากหลาย เช่น สีเหลือง เขียว ม่วง ส้ม ชมพู แดง ขาว คละกันไป ในหนึ่งใบสามารถมีสีคละกันจึงเป็นความสวยงามของต้นโกสนนั้นเอง ออกดอกที่ปลายกิ่งโดยแยกเพศออกไป โดยดอกของเพศผู้จะมีกลีบดอก และดอกของเพศเมียจะไม่มีกลีบดอก
ลักษณะและสายพันธุ์ของต้นโกสน
ลักษณะของใบและสีจะตัวบ่งชี้ของสายพันธุ์ ซึ่งมีมากกว่า 30 สายพันธุ์ แดงสยาม เพชรหึง อินทรีย์แดง ทองนพคุณ แตรกุหลาบ เทพนิมิตร นฤเบศร์ และสายพันธุ์อื่นๆอีกมากมาย สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง เสียบยอดกิ่ง การติดตา การเพาะเมล็ด และมีการผสมพันธุ์ของต้นโกสนให้ได้สายพันธุ์ใหม่ตลอดเวลาโดยใช้วิธีการผสมเกสร เพราะดอกของต้นโกสนเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศหรือมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่กันคนละดอก เกษตรกรจึงเอาเกสรตัวผู้ของอีกสายพันธุ์มาผสมกันกับเกสรตัวเมียของอีกสายพันธุ์ เพื่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา
รู้จักกับต้นโกสนให้มากขึ้น พร้อมทั้งวิธีการดูแล
โกสนเป็นต้นไม้ชนิดไม้พุ่ม มักนิยมปลูกในกระถางเพื่อขนาดของพุ่มมีขนาดเล็ก หากปลูกลงดินและดูแลเป็นอย่างดีก็จะมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร เป็นต้นไม้ที่มีชอบน้ำและความชื้นสูง จึงควรรดน้ำทุกวันและฉีดสเปรย์น้ำที่ใบในตอนเย็นเพียงชะลอการระเหยของน้ำและความชื้นให้เพียงพอต่อความต้องการของต้นไม้ ปลูกในกระถางดินเผาจะดีกว่าการปลูกในกระถางพลาสติก เพราะกระถางดินเผาจะเก็บความชุ่มชื่นไว้ได้นานกว่า ต้นไม้ชนิดนี้ชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย ถ่ายเทอากาศและน้ำได้ดี หากใช้ดินที่แน่นมากจะทำให้ดิกเก็บน้ำไว้เกินความจำเป็น อาจจะทำให้รากของต้นโกสนเน่า ใบร่วงง่าย ปุ๋ยที่ทำให้สีของใบโกสนนั้นเข้ม สีสันสดใสสวยงาม เห็นลายบนใบได้อย่างชัดเจนควรเป็นปุ๋ยที่มีฟอสโฟรัสและโปรแตสเซียมสูง หากใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงจะทำให้ใบของต้นโกสมมีสีเขียวมากขึ้น สีอื่นๆซีดลง ลวดลายบนใบจางหาย ไม่ชัดเจน
ทำไมเราถึงควรปลูกต้นโกสน
ต้นโกสนไม่เพียงแต่เป็นพืชที่ปลูกง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มปลูกต้นไม้เท่านั้น ต้นโกสนยังเป็นพืชที่ช่วยฟอกอากาศภายในห้องหรืออาคารได้อีกด้วย แต่จะฟอกอากาศได้ไม้ดีเท่าไม้ประดับฟอกอากาศชนิดอื่นๆ แต่ความสวยงามของต้นโกสนก็แพ้ไม้ประดับชนิดอื่นๆเช่นกัน ยอดใบอ่อนของต้นโกสนยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย ยอดอ่อนของใบโกสนจะมีรสชาติหวาน แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ต้นโกสนยังมีสรรพคุณที่ช่วยแก้ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติในเด็กและยังช่วยแก้ร้อนในได้อีกด้วย
ราคาของต้นโกสนที่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ
สำหรับใครที่สนใจอยากปลูกต้นโกสนไว้ประดับบ้านเรือน สามารถหาซื้อได้ตามตลาดต้นไม้ที่ใกล้บ้านท่าน หรือสำหรับใครที่ไม่มีเวลาสามารถสั่งซื้อต้นโกสนได้ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ราคามีตั่งแต่หลักสิบถึงหลักร้อยแล้วแต่ขนาดและความสวยงามของใบ แต่แนะนำไปเดินดูที่ตลาดในวันหยุดดีกว่า ได้เห็นต้นจริงๆ ต่อราคาได้ด้วย ดีไม่ดีอาจจะไม่ได้ต้นโกสนกลับแค่ต้นเดียวก็ได้
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับข้อมูล “ต้นโกสน” ต้นไม้มงคลที่ปลูกแสนง่ายที่เราได้รวบรวมมาให้ทุกคนที่สนใจได้อ่านกัน ต้นไม้ก็เหมือนกันมนุษย์เนี้ยแหละ หากเราเปิดใจเรียนรู้ ทำความรู้จัก และดูแลเป็นอย่างดี ต้นไม้ก็จะอยู่กับเราไปตลอด แต่ถ้าเลี้ยงเพียงเพื่อตามเทรนให้ทันโดยที่ขาดความใส่ใจ ไม่นานต้นไม้ที่เราได้มาก็จะเหี่ยวเฉา ไม่สวยงาม และอาจจะแห้งตายได้
ขอบคุณที่มา ความรู้รอบตัว.com