‘ทวิตเตอร์’ เผยรัฐบาลทั่วโลกส่งคำร้องลบเนื้อหาทิ้งมากสุดเป็นสถิติใหม่ 
‘ทวิตเตอร์’ เผยรัฐบาลทั่วโลกส่งคำร้องลบเนื้อหาทิ้งมากสุดเป็นสถิติใหม่ 
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ส่งคำร้องขอให้ลบเนื้อหาต่าง ๆ ในทวิตเตอร์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีที่แล้วมากที่สุดเป็นสถิติใหม่ อ้างอิงจากข้อมูลที่ทวิตเตอร์เปิดเผยออกมาในวันอังคาร ทวิตเตอร์ระบุว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ส่งคำร้องเรียนทางกฎหมาย 43,387 ครั้ง ให้ลบทิ้งเนื้อหาหรือทวีตของบัญชีผู้ใช้ 196,878 บัญชีภายในช่วงเวลาหกเดือนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นจำนวนคำร้องและจำนวนบัญชีผู้ใช้ที่มากที่สุดที่ตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลทั่วโลก นับตั้งแต่ทวิตเตอร์เริ่มเก็บข้อมูลนี้เมื่อ 10 ปีก่อน  ข้อมูลของทวิตเตอร์ชี้ด้วยว่า 95% ของคำร้องเรียนทางกฎหมายนี้มาจาก 5 ประเทศ โดยญี่ปุ่นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยรัสเซีย ตุรกี อินเดีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ โดยทางทวิตเตอร์ได้ระงับการเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้น หรือขอให้ผู้ใช้ลบเนื้อหาที่ถูกร้องเรียนนั้นทิ้งไป ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะระหว่างประเทศของทวิตเตอร์ มีแถลงการณ์ว่า ทางบริษัทเผชิญข้อเรียกร้องจากรัฐบาลทั่วโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต้องการเพิ่มความพยายามในการแทรกแซงหรือลบเนื้อหาต่าง ๆ เหล่านั้น...


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ส่งคำร้องขอให้ลบเนื้อหาต่าง ๆ ในทวิตเตอร์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีที่แล้วมากที่สุดเป็นสถิติใหม่ อ้างอิงจากข้อมูลที่ทวิตเตอร์เปิดเผยออกมาในวันอังคาร ทวิตเตอร์ระบุว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ส่งคำร้องเรียนทางกฎหมาย 43,387 ครั้ง ให้ลบทิ้งเนื้อหาหรือทวีตของบัญชีผู้ใช้ 196,878 บัญชีภายในช่วงเวลาหกเดือนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นจำนวนคำร้องและจำนวนบัญชีผู้ใช้ที่มากที่สุดที่ตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลทั่วโลก นับตั้งแต่ทวิตเตอร์เริ่มเก็บข้อมูลนี้เมื่อ 10 ปีก่อน  ข้อมูลของทวิตเตอร์ชี้ด้วยว่า 95% ของคำร้องเรียนทางกฎหมายนี้มาจาก 5 ประเทศ โดยญี่ปุ่นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยรัสเซีย ตุรกี อินเดีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ โดยทางทวิตเตอร์ได้ระงับการเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้น หรือขอให้ผู้ใช้ลบเนื้อหาที่ถูกร้องเรียนนั้นทิ้งไป ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะระหว่างประเทศของทวิตเตอร์ มีแถลงการณ์ว่า ทางบริษัทเผชิญข้อเรียกร้องจากรัฐบาลทั่วโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต้องการเพิ่มความพยายามในการแทรกแซงหรือลบเนื้อหาต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งถือเป็นการคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบรรดาผู้ใช้  ปัจจุบัน สื่อสังคมออนไลน์หลายแห่งกำลังเผชิญความท้าทายจากผู้มีอำนาจในหลายประเทศเกี่ยวกับการตรวจสอบเนื้อหาของสิ่งที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มของพวกเขา ตลอดจนเสียงวิจารณ์เรื่องการรับมือกับเนื้อหาที่รุนแรงหรือข่าวลวงในโลกออนไลน์ ที่มา: รอยเตอร์


ปฏิกิริยาของคุณ?