gogo
บรรณาธิการ
โพสต์เมื่อ
— อัปเดตเมื่อ
393
มุมมอง
บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติแคนาดา แบล็คเบอร์รี (Blackberry) ยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างถาวร เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า โทรศัพท์รุ่นเก่าของบริษัทจะไม่สามารถใช้งานโทรเข้าโทรออกหรือใช้อินเตอร์เน็ตได้อีกแล้ว เว้นแต่โทรศัพท์บางรุ่นที่ใช้ระบบแอนดรอยด์ยังสามารถทำงานได้ โดยจะเป็นโทรศัพท์รุ่นที่ผลิตช่วงปี 2015-2018 ตั้งแต่ BlackBerry Priv ไปจนถึง BlackBerry Evolve X การตัดสินใจยุติการสนับสนุนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ แบล็คเบอร์รี ซึ่งเคยโด่งดังและได้รับความนิยมอย่างสูง มีขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนปี 2020 ที่ผู้บริหารแบล็คเบอร์รี จอห์น เฉิน ประกาศว่าจะเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แทน และมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์และบริการให้กับผู้ประกอบการและภาครัฐทั่วโลก แบล็คเบอร์รี เป็นที่รู้จักจากการเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมแป้นพิมพ์ และครองตลาดใหญ่ด้านโทรศัพท์มือถือมายาวนาน เริ่มตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งเป็นเวลาราว 8 ปีก่อนที่แอปเปิล จะเปิดตัวไอโฟนรุ่นแรกเสียอีก โดยโทรศัพท์...
บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติแคนาดา แบล็คเบอร์รี (Blackberry) ยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างถาวร เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า โทรศัพท์รุ่นเก่าของบริษัทจะไม่สามารถใช้งานโทรเข้าโทรออกหรือใช้อินเตอร์เน็ตได้อีกแล้ว เว้นแต่โทรศัพท์บางรุ่นที่ใช้ระบบแอนดรอยด์ยังสามารถทำงานได้ โดยจะเป็นโทรศัพท์รุ่นที่ผลิตช่วงปี 2015-2018 ตั้งแต่ BlackBerry Priv ไปจนถึง BlackBerry Evolve X
การตัดสินใจยุติการสนับสนุนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ แบล็คเบอร์รี ซึ่งเคยโด่งดังและได้รับความนิยมอย่างสูง มีขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนปี 2020 ที่ผู้บริหารแบล็คเบอร์รี จอห์น เฉิน ประกาศว่าจะเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แทน และมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์และบริการให้กับผู้ประกอบการและภาครัฐทั่วโลก
แบล็คเบอร์รี เป็นที่รู้จักจากการเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมแป้นพิมพ์ และครองตลาดใหญ่ด้านโทรศัพท์มือถือมายาวนาน เริ่มตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งเป็นเวลาราว 8 ปีก่อนที่แอปเปิล จะเปิดตัวไอโฟนรุ่นแรกเสียอีก โดยโทรศัพท์ BlackBerry 850 มีทั้งบริการอีเมล อินเตอร์เน็ต และแป้นพิมพ์แบบดั้งเดิม และได้รับความนิยมในหมู่นักธุรกิจและเจ้าหน้าที่รัฐ
ในช่วงปี 2010 แบล็คเบอร์รียังผลิตโทรศัพท์ต่อไปและครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 40% ยืนเหนือคู่แข่งทั้งแอปเปิล กูเกิล ไมโครซอฟต์ และพาล์มในยุคนั้น รวมทั้งทำให้เกิดกระแสที่เรียกว่า crackberry หรือการเสพติดการใช้แบล็คเบอร์รีอย่างถอนตัวไม่ขึ้น
แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี ยอดขายของแบล็คเบอร์รีร่วงลงอย่างหนัก และต้องชะลอการเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี 2016 แบล็คเบอร์รีมีส่วนแบ่งในตลาดมือถือเพียงแค่ 1% ขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแอนดรอยด์พุ่งขึ้นมาที่ระดับ 53% และแอปเปิลครองส่วนแบ่งตลาดไป 43% จากจุดเด่นของระบบสัมผัสของหน้าจอและปริมาณแอปพลิเคชันที่มากขึ้น ก่อนที่ปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีจีน TCL จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับแบล็คเบอร์รี เพื่อผลิตโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์ในเวลาต่อมา