การอบรมลูกด้วยวิธีการขอเวลานอก
การอบรมลูกด้วยวิธีการขอเวลานอก
หลักการการขอเวลานอก (time out) นั้นง่ายๆค่ะ ก็คือเวลาเด็กมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง โมโห หรือหงุดหงิด ก็ให้แยกตัวเขาออกมาจากสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น ให้เขามานั่งอยู่คนเดียว


การอบรมลูกด้วยวิธีการขอเวลานอก

รักลูกให้ผูกรักลูกให้ตี เราเคยได้ยินสุภาษิตบทนี้มาตั้งแต่เล็กๆใช่ไหมคะ ดิฉันคิดว่าวิธีการแบบไทยๆนี้ได้ผลกับตัวดิฉันมาก ดิฉันยอมรับว่าที่ตั้งใจเรียนและมีหน้าที่การงานมาได้ถึงวันนี้ก็เพราะไม้เรียวคุณพ่อคุณแม่ค่ะ แต่เอ?พอเรามีลูกของตัวเองแล้วต้องมาเล่นบทเป็นคุณแม่ที่ต้องอบรมเจ้าตัวยุ่งในบ้านแล้ว บางครั้งเราก็ไม่อยากจะตีเขาเวลาที่เจาไม่เชื่อฟังเรา ก็เลยหาเวลาลองศึกษาดูว่าฝรั่งเขาเลี้ยงลูกกันอย่างไร ก็ได้ความว่า เขาใช้วิธีอบรมเวลาเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยการให้เด็กนั่งเฉยๆ หรือที่เขาเรียกกันว่า?ขอเวลานอก (time out)? การขอเวลานอกนั้นมีหลักการอย่างไร แล้วทำอย่างไรถึงจะได้ผล ติดตามนะคะ

หลักการการขอเวลานอก (time out) นั้นง่ายๆค่ะ ก็คือเวลาเด็กมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง โมโห หรือหงุดหงิด ก็ให้แยกตัวเขาออกมาจากสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น ให้เขามานั่งอยู่คนเดียว อาจจะที่มุมใดมุมหนึ่งของห้องเป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยที่เราคอยดูอยู่ห่างๆ การให้ time out นั้นไม่ได้เป็นการลงโทษเขานะคะ แต่เป็นการอบรมโดยการให้โอกาสเขาได้นั่งเฉย คิดทบทวนเหตุการณ์และเหตุผลที่ไม่เหมาะสม เขาจะเริ่มสงบลง และจะค่อยๆปรับปรุงพฤติกรรมของเขาให้ดีขึ้น เพื่อที่จะไม่ต้องโดนครั้งต่อไปการให้ time out นั้นมีประโยชน์ก็ตรงที่ว่าคุณจะไม่ต้องอารมณ์หงุดหงิด ตะโกนหรือดุเขา ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการแสดงตัวอย่างการใช้อารมณ์ที่ไม่ได้ให้เขาดู เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้ความสงบ ดังนั้นการที่คุณจะให้ time out ลูกควรจะพูดด้วยเสียงปกติ ไม่ควรเสียงดังหรือดุ

เด็กอายุเท่าไรจึงจะพร้อมสำหรับ time out ถ้าจะให้เด็กอายุ 1 ปี ได้รับ time out คงจะเป็นการวิ่งไล่จับกันมากกว่านะคะ เพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่รู้เรื่องของเหตุผลและไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้นานๆ แทนที่คุณจะใช้ time out ในการสอนเขาอาจจะกลับกลายเป็นการให้รางวัลเขาโดยการเล่นไล่จับก็ได้ค่ะ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้ว time out จะเริ่มใช้ได้เมื่อเด็กรู้จักที่จะรักษากฎต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เรามีวิธีการดูง่ายๆค่ะ ก็คือดูว่าเขาสามารถจับผิดเราหากเราไม่ได้ทำตามกฎที่เราบอกเขาหรือไม่ เช่น ถ้าคุณห้ามเขาไม่ให้กินขนมบนที่นอน แล้วเขามาเห็นคุณกินอยู่ เขาพูดว่า ?แม่กินขนมบนที่นอนไม่ได้? ถ้าเขารู้จักกฎและการรักษากฎแล้ว แสดงว่าคุณสามารถเริ่มใช้ time out กับเขาได้ แต่ถ้าหากว่าคุณเริ่ม time out เร็วเกินไปก็อาจจะไม่เป็นผลดีได้ เพราะเด็กอาจจะยังไม่โตพอที่จะเขาใจว่าทำไมถึงโดนทำโทษ

ข้อสำคัญอย่างหนึ่งในการให้ time out ก็คือ ควรจะต้องสังเกตดูว่าที่ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น เกิดเนื่องจากการที่เขารู้ว่าไม่ควรทำแต่อยากทำ หรือ ทำไปเพราะความไม่รู้

วิธีเริ่ม time out เราควรจะเริ่มวิธีการ time out ร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกค่ะ คือ ถ้าลูกคุณเริ่มมีพฤติกรรมที่ไม่เชื่อฟังหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว คุณเริ่มโดยการพูดกับแกว่า ?เรามาพักเวลานอกกันโดยการอ่านหนังสือดีกว่า? วิธีนี้เรียกว่า positive time out หรือ การขอเวลานอกในแง่ดี กิจกรรมที่มีก่อเงียบๆ เช่น การนอนฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือนอนเฉยๆ

แยกออกมาจากกิจกรรมที่ทำให้แกหงุดหงิดจะเป็นการสงบสติอารมณ์ของเด็ก การเริ่มทำเช่นนี้จะเป็นการฝึกให้แกรู้จักวิธีการควรคุมอารมณ์ของตนเองอย่างสงบ

อธิบายให้เด็กฟังก่อนเริ่ม ก่อนที่จะเริ่มการขอเวลานอกอย่างจริงจัง เราควรจะอธิบายให้แกเข้าใจหลักการก่อน โดยอาจใช้ตุ๊กตาที่แกชอบเป็นตัวอย่าง เช่น คุณอาจจะพูดกับเขาว่า ?ถ้าลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ หรือ ทำอะไรที่แม่คิดว่าไม่เหมาะสมแล้ว แม่จะให้ ?ขอเวลานอก? นะ การขอเวลานอกก็คือ ลูกจะต้องมานั่งอยู่บนเก้าอี้เฉยๆสักระยะหนึ่งจนกว่าลูกจะสงบลง ปกติเราจะเริ่มฝึกได้เมื่อเด็กเริ่มมีสมาธิมากขึ้น สามารถฟังคำอธิบายได้ คือ ประมาณอายุ 2-3 ขวบ

จะให้เด็กได้ time out นานเท่าไร ก่อนอื่นขอทบทวนก่อนนะคะ ว่าการให้ time out แก่เด็กนั้นเป็นการให้แกออกมาจากกิจกรรมที่ทำให้แกเกิดความโมโหหรือหงุดหงิด เพื่อให้แกสงบอารมณ์ลง ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเป็นการทำโทษเด็ก ระยะเวลาของ time out จะสั้นยาวขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ ควรจะเริ่มจากสั้นๆก่อน เช่น ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที โดยการเริ่มอาจจะไม่ต้องพาแกไปที่เก้าอี้มุมห้องที่เตรียมไว้ อาจจะเพียงแค่ให้แกนั่งนิ่งๆในที่ๆนั่งอยู่ หลังจากแกเริ่มสงบสติอารมณ์ได้ก็ให้หันเหความสนใจแกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ความยาวของเวลาที่เหมาะสมอาจจะดูเป็นกรณีๆไป เวลาที่ดีควรเป็นเวลาที่พอประมาณให้แกสามารถสงบสติอารมณ์ได้ แต่ไม่ควรนานเกินไปจนทำให้แกหงุดหงิดเพราะต้องนั่งเฉยก่อนจบนะคะ ก็เขาก็แนะนำว่า การใช้ time out ก็คงต้องใช้ความอดทนสูง เพราะเด็กเล็กๆนั้น มีความท้าทายพ่อแม่สูง การใช้ time out เป็นวิธีการวิธีหนึ่งที่ทำให้เขารู้จักการสงบสติอารมณ์ แต่ก็คงจะไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ปฏิกิริยาของคุณ?