2,028
มุมมอง
มุมมอง
ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดย ยิ้มแย้ม มองสบตา เอียงหน้าไปมาช้าๆให้ลูกมองตาม สัมผัสตัวลูกอย่างนุ่มนวล อุ้มพาดบ่าหลังกินนมให้ลูกเรอ อาย 2 เดือนขึ้นไปให้อุ้มในท่านั่ง
น้ำหนัก ส่วนสูงและพัฒนาการ ของทารกแรกเกิด - 3 เดือน
การเติบโตโดยประมาณ
- ทารกแรกเกิด หนัก 3 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
- อายุ 1 เดือน หนัก 4 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 53 เซนติเมตร
- อายุ 2 เดือน หนัก 4.5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 56 เซนติเมตร
- อายุ 3 เดือน หนัก 5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 59 เซนติเมตร
- การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็วช้าต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์
พัฒนาการ การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
แรกเกิด: ผงกศีรษะหันหน้าซ้ายขวาได้เมื่อจับให้นอนคว่ำ ต่อมาจะชันคอได้ดีขึ้นจนยกศีรษะสูงจากพื้น
การใช้ตาและมือ
แรกเกิด: เห็นชัดเฉพาะระยะห่าง 8-9 นิ้ว ต่อมามองเห็นชัดในระยะไกลขึ้น และจ้องมองหันหน้าตามสิ่งต่างๆที่เคลื่อนไหวช้าๆ เด็กมักกำมือแน่น ต่อมากำมือหลวมๆ
การสื่อความหมายและภาษา เมื่อมีเสียง เด็กจะหยุดฟังเสียงแล้วหันหาเสียง ทำเสียงในคอ ร้องไห้เมื่อหิว ตกใจ หรือเปียกชื้น
อารมณ์และสังคม มองจ้องหน้า สบตา ทำหน้าตาเลียนแบบ อ้าปากแลบลิ้นได้ แสดงความสนใจคนรอบข้างและยิ้มตอบได้เมื่ออายุ 1-2 เดือน
เลี้ยงลูกให้อบอุ่น เติบโต อารมณ์ดีและพัฒนาไว ด้วยวิธีง่ายๆดังต่อไปนี้
- พ่อแม่ควรได้อุ้ม และสัมผัสเด็กตั้งแต่แรกเกิด
- เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึงอาย 3-4 เดือน
- ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเสมอเมื่อลูกร้องควรเข้ามาดูแลทันที
- รักษาความสะอาด อาบน้ำ สระผม เช็ดสะดือ
ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดย
- ยิ้มแย้ม มองสบตา เอียงหน้าไปมาช้าๆให้ลูกมองตาม
- สัมผัสตัวลูกอย่างนุ่มนวล
- อุ้มพาดบ่าหลังกินนมให้ลูกเรอ อาย 2 เดือนขึ้นไปให้อุ้มในท่านั่ง
- เล่นกับลูก ใช้ของเล่นปราศจากสารพิษให้ลูกจับต้อง
- แขวนโมไบล์สีสดให้ลูกมองตาม
- พูดคุยอย่างอ่อนโยน ถ้าไม่มีเรื่องคุยให้บอกกับลูกว่ากำลังทำอะไร เช่น เช็ดตัว ทาแป้ง ยิ้มและสบตาลูกได้เสมอ ทำเสียงโต้ตอบกับเด็กและร้องเพลงกล่อมลูก หรือใช้เปิดเทปเพลงกล่อมเด็ก
- จัดให้ลูกนอนคว่ำหรือตะแคงในที่นอน หากให้นอนแปลหรืออู่ ควรดูให้ไม่มืดทึบ ควรมีเวลาเงียบสงบให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ควรเวันช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดีและเพื่อแม่จะได้มีเวลาดูแลลูกแต่ละคนอย่างเต็มที่
- บันทึกน้ำหนัก ความยาวตัว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง
ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต