ปัสสาวะเล็ดหลังคลอด
ปัสสาวะเล็ดหลังคลอด
ปัสสาวะเล็ด" เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ทั้งในผู้หญิง-ผู้ชาย คือภาวะที่มีการไหลของปัสสาวะออกมาอย่างนอกเหนือการควบคุม เมื่อเกิดการ เพิ่มของความดันในช่องท้อง เช่นตอน ไอ จาม หัวเราะ ยกของหนัก ซึ่งเป็นปัญหาที่ "ส่งผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม"อาจทำให้สมาธิการทำงานหมดไปกับการเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง


ภาพจาก mgronline.com

ปัสสาวะเล็ด หลังคลอด

ปัสสาวะเล็ด" เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ทั้งในผู้หญิง-ผู้ชาย คือภาวะที่มีการไหลของปัสสาวะออกมาอย่างนอกเหนือการควบคุม เมื่อเกิดการ เพิ่มของความดันในช่องท้อง เช่นตอน ไอ จาม หัวเราะ ยกของหนัก ซึ่งเป็นปัญหาที่ "ส่งผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม"อาจทำให้สมาธิการทำงานหมดไปกับการเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง รวมถึงเกิดความกังวลในการที่จะต้อง เดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ มีผลการวิจัยพบว่า หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนกว่า 80% เจอปัญหานี้ และหลายคนรู้สึกอาย ไม่ยอมรักษา เก็บตัว

ปัญหานี้เกิดจากการที่ "อุ้งเชิงกรานหย่อนสมรรถภาพ"ซึ่งหลายคนถึงขั้นซึมเศร้า และถึงกับปิดตัวเองจากสังคม รศ.กรกฎ เห็นแสงวิไล หัวหน้าโครงการวิจัย "สร้างเสริมสุขภาพ บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในสตรีด้วยตัวเอง" ให้ ความรู้ความเข้าใจผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" ว่า...การที่อุ้งเชิงกรานหย่อนสมรรถภาพนั้น มาจากหลายปัจจัย อาทิ การตั้งครรภ์และคลอดบุตร ซึ่งจะทำให้มีการยืดขยายของ กล้ามเนื้อและพังผืดรอบอุ้งเชิงกราน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนี้ยังเป็นในผู้สูงอายุ สตรีวัยหมดประจำเดือน คนอ้วน หรือคนยกของหนักเป็นประจำ ซึ่งมักทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหย่อนยานได้ง่าย รวมไปถึงมาจากโรคเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง ไอเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กล้ามเนื้องอก เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปัญหา "ปัสสาวะเล็ด" ได้"ใน การวิจัย ได้มีการเสนอวิธีการให้ความรู้และสร้างเสริมสุข ภาพสตรีวัยหมดประจำเดือน เริ่มมีอาการปัสสาวะเล็ด และสตรีมีครรภ์ โดยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกต้องด้วยตัวเอง ซึ่งจากการทดลอง การฝึกขมิบอุ้งเชิงกรานต่อเนื่อง ทำให้คนที่มีปัสสาวะเล็ดบ่อย ๆ ลดความรุนแรงของอาการลง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงและกระชับตัว ซึ่งส่งผล ให้การมีเพศสัมพันธ์ดีขึ้นด้วย"อย่างไรก็ตาม รศ.กรกฎยังได้บอกอีกว่า...ไม่ว่าจะเกิดปัสสาวะเล็ดหรือไม่ วิธีการป้องกันและบรรเทาอาการ ทำได้โดยการขมิบอุ้งเชิงกรานแรง ๆ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อยประมาณ 5 นาที ทำซ้ำจนครบ 5 ครั้ง แล้วขมิบ-ปล่อยแบบแรงเต็มที่ อีก 5 ครั้ง ซึ่งวันหนึ่ง ๆ ควรทำอย่างน้อย 4-5 ครั้ง คือ เช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน โดยต้องฝึกขมิบในขณะทำกิจวัตรประจำวันจนเป็นนิสัย จะส่งผลดีในระยะยาว"และด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า การรักษาโดยใช้วิธี กระตุ้นกล้ามเนื้อเชิงกรานด้วยไฟฟ้า ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ" ...หัวหน้าโครงการวิจัยสร้างเสริมสุขภาพบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ระบุ

ภาพจาก happymom.in.th

ด้าน รศ.นพ.นพดล สโรบล อาจารย์แพทย์ด้านสูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เล่าผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" ว่า... เคยมีหญิง ตั้งครรภ์ชาวฝรั่งเศสมาทำคลอดในไทย โดยก่อนคลอดได้ขอให้โรงพยาบาลเตรียมทำเรื่องส่งตัวไปพบนักกายภาพบำบัดเพื่อ รับการกระตุ้นช่องคลอด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ไม่เข้าใจ

"จน ผมได้รับการบอกเล่าจากเธอ ว่าที่ฝรั่งเศสผู้หญิงทุกคนที่คลอดลูกทางช่องคลอดจะได้รับสวัสดิการจาก รัฐบาลไปพบนักกายภาพบำบัดให้กระตุ้นกล้ามเนื้อช่องคลอดด้วยไฟฟ้า หลังคลอดแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกัน ปัสสาวะเล็ด ในอนาคต เนื่องจากหญิงวัยหมดประจำเดือนกว่า 80% จะเจอปัญหานี้ รศ.นพ. นพดลบอกต่อไปว่า... การกระตุ้นดังกล่าวนี้จะใช้เวลา 1/2 ชั่วโมงต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ประมาณ 15 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ไม่ให้หย่อนยาน ซึ่งเป็นสวัสดิการพิเศษให้หญิงหลังคลอดโดยรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด วิธีการขั้นแรกคือ สอดใส่เครื่องมือกระตุ้นกล้ามเนื้อเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้เกิดความหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่องคลอด เป็นระยะ ๆ ซึ่งความถี่ในการกระตุ้นสามารถปรับตามความเหมาะสม และมีการป้องกันการติดเชื้อโดยจะไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกันทั้งนี้ นี่เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากผ่าตัด ค่าใช้จ่ายไม่สูง หลายคนคิดว่าวิธีนี้ยังอยู่ในขั้นวิจัย ซึ่งจริง ๆ มีมานานแล้ว ช่วยให้ช่องคลอดกระชับตัว และผลพลอยได้คือทำให้คู่สามีภรรยามีความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเท่าที่ทราบขณะนี้ในไทยก็กำลังใกล้จะมีคลินิกกระตุ้นกล้ามเนื้อช่องคลอด -อุ้งเชิงกรานโดยตรง

"ที่ สำคัญคือควรขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเองอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับการออกกำลังกาย รวมถึงหลังจากกระตุ้นไฟฟ้า และการไปหานักกายภาพบำบัดด้วยก็เปรียบเสมือนการไปออกกำลังกายที่โรงยิม ที่มีการแนะนำการออกกำลังกายให้อย่างถูกวิธี"...อาจารย์แพทย์ด้านสูตินรีแพทย์ระบุ"ปัสสาวะเล็ด" อาจจะไม่ร้ายแรงเท่ากรณีมดลูกแตกแต่ใครเป็นเข้าก็ต้อง "ทุกข์ทั้งกายทั้งใจ-อายสังคม"ใส่ใจกับการป้องกันไว้ก่อน...ดีกว่าแก้ไขภายหลัง !!.

ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



ปฏิกิริยาของคุณ?