เป็นแผลที่หัวนม ลูกจะติดเชื้อหรือไม่
เป็นแผลที่หัวนม ลูกจะติดเชื้อหรือไม่
ลูกน้อยคลอดมาแล้ว คุณแม่ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน แต่คุณแม่บางคนมีความพร้อม มีเวลา สามารถเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ก็เลี้ยงด้วยนมแม่ต่อไปอีก แต่คุณแม่บางคนอาจเจอปัญหาหัวนมเป็นแผล ทำให้ลูกดูดนมแล้วรู้สึกเจ็บ


ภาพจาก th.theasianparent.com

เป็นแผลที่หัวนม ลูกจะติดเชื้อหรือไม่

ลูกน้อยคลอดมาแล้ว คุณแม่ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน แต่คุณแม่บางคนมีความพร้อม มีเวลา สามารถเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ก็เลี้ยงด้วยนมแม่ต่อไปอีก แต่คุณแม่บางคนอาจเจอปัญหาหัวนมเป็นแผล ทำให้ลูกดูดนมแล้วรู้สึกเจ็บ และยังกังวลว่าเมื่อลูกดูดนมข้างที่เป็นแผล ลูกจะติดเชื้อจากแผลได้

ปกติแล้วแผลที่หัวนมจะหายได้ภายในสองถึงสามวัน แผลจะแห้งลงและความเจ็บจะหายเกือบทั้งหมดถ้าไม่มีการดูดผิดที่

สิ่งที่เราควรสังเกต คือการดูดนมบนเต้าของลูก พยายามให้อมให้ลึก เพื่อจะได้ไม่กดที่หัวนมหรือเสียดสีที่แผลเก่า และหลังจากกินนมก็ให้ใช้น้ำนมแม่ทาบางๆ ที่หัวนม และแผลที่เป็น รอให้แห้งก่อน จึงสวมเสื้อผ้าทับ ถ้ามีโอกาสเปิดเต้านมให้สัมผัสอากาศบ้าง เพราะจะช่วยให้แผลแห้งและหายเร็วขึ้น ถ้าต้องใช้แผ่นซับน้ำนมเวลาออกข้างนอก ก็ควรเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อยๆ อย่าให้หัวนมชื้นแฉะ เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ทำให้การเจ็บหัวนมมากขึ้นหรือเป็นนานขึ้น และมีการกลับมาเป็นบ่อยๆ

แผลที่หัวนมถ้าไม่ลึกหรือมีการติดเชื้อจนแผลมากก็ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ ใช้หลักรักษาความสะอาดและแห้ง ถ้าเจ็บมากจนทนไม่สามารถให้ลูกดูดนมบนเต้าได้ ก็สามารถพักข้างที่เจ็บชั่วคราวได้ โดยต้องไม่ลืมบีบน้ำนมข้างที่พักเก็บไว้เพื่อรักษาการผลิตน้ำนมให้มีอยู่ต่อไป พอแผลหายหรือสามารถกลับมาให้กินได้อีกก็ให้กินจากเต้า หยุดการบีบ การให้ลูกกินนมข้างที่ไม่เจ็บข้างเดียวก็ทำให้ระหว่างอีกข้างต้องพักการทำงาน ซึ่งอาจเป็นเพียงไม่กี่มื้อ ดูแลการระบายน้ำนมข้างที่เจ็บออกให้ดี แล้วแผลจะหายเร็วขึ้น

ภาพจาก momypedia.com

ส่วนเรื่องที่คุณแม่กลัวว่าเชื้อโรคจากแผลที่หัวนมจะติดต่อไปยังลูกนั้น โดยทั่วไปแผลที่หัวนมไม่มีเชื้อโรคอันตราย และหายได้เร็วจากกระบวนการซ่อมแซมตามปกติของร่างกาย ถ้าไม่ติดเชื้อรุนแรงก็จะไม่มีการส่งต่อไปยังลูกน้อย

สิ่งที่ต้องสังเกตต่อไปก็คือ การอักเสบที่ทำให้แผลและหัวนมแสบ ปวดแสบปวดร้อน หัวนมเป็นสีแดงหรืออาจเป็นสีส้ม ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อราที่หัวนม ซึ่งเชื้อราที่หัวนมนี้เองที่สามารถติดต่อไปยังลูกได้ อาการที่พบที่ลูกคือการมีเชื้อราที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม ก้นแดงหรือมีเชื้อราที่ก้น การป้องกันการติดเชื้อรา ทำได้ง่ายๆ โดยการล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการให้นม รักษาหัวนมให้สะอาดและแห้ง โดยการใช้น้ำนมทาหลังให้นมและปล่อยให้แห้ง ถ้าเป็นเชื้อราแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อกินยารักษาต่อไปค่ะ

ที่สำคัญ คุณแม่ให้นมลูก ควรดูแลความสะอาดของหัวนม เต้านม เสื้อผ้า อย่าให้อับชื้น จะได้ให้ลูกดูดนมได้อย่างสบายใจ หมดกังวลนะคะ

ขอขอบคุณ ที่มา : ModernMom



ปฏิกิริยาของคุณ?