ลูกใต้ใบ สรรพคุณและประโยชน์
ลูกใต้ใบ สรรพคุณและประโยชน์
ต้นลูกใต้ใบ จัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม


ภาพจาก : health.kapook.com

สมุนไพร ลูกใต้ใบ ชื่อสามัญ Egg Woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf

สมุนไพร ลูกใต้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus amarus Schum & Thonn. จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เช่นเดียวกับโคคลาน ไคร้น้ำ พังคี เจตพังคี น้ำนมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์เล็ก เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ ละหุ่ง ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ โลดทะนงแดง สบู่ดำ และสบู่แดง

สมุนไพรลูกใต้ใบ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี), หน่วยใต้ใบ (คนเมือง), มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), จูเกี๋ยเช่า (จีน) เป็นต้น โดยต้นใต้ใบนั้นมีถิ่นกำเนิดในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เปรู บราซิล สหรัฐอเมริกา หมู่เกาะคาริบเบียน และในทวีฟแอฟริกา

ลักษณะของลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ จัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม

ใบลูกใต้ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อยประมาณ 23-25 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบมนกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีก้านใบสั้นมาก และมีหูใบสีขาวนวล ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติดอยู่ 2 อัน

ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซติเมตร ดอกเพศเมียมักจะอยู่บริเวณโคนก้านใบ ส่วนดอกเพศผู้มักจะอยู่บริเวณส่วนปลายของก้านใบ โดยดอกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ประมาณ 2 เท่า เกสรตัวผู้มี 3 อัน โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย มีอับเรณูแตกอยู่ตามแนวราบ ส่วนกลีบรองและกลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน

ผลลูกใต้ใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบมีสีเขียวอ่อนนวล ผลมีขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร โดยผลมักจะเกาะติดอยู่บริเวณใต้โคนของใบย่อย และอยู่ในบริเวณกลางก้านใบ ผลเมื่อแก่จะแตกเป็นพู 6 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยว 1 ส่วน 6 ของรูปทรงกลม มีสันตามยาวทางด้านหลัง และมีขนาดเล็กมาประมาณ 0.1 เซนติเมตร

สมุนไพรไทยลูกใต้ใบ ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ ดังนี้ ธาตุโซเดียม 0.86 %, ธาตุโพแทสเซียม 12.84 %, ธาตุเหล็ก 10.68 %, ธาตุแคลเซียม 6.57 %, ธาตุแมกนีเซียม 0.34 %, ธาตุอะลูมิเนียม 3.92 %, ธาตุฟอสฟอรัส 0.34 %, ธาตุแคดเมียม 8 ppm, และสารหนู 12 pmm ส่วนองค์ประกอบของสารเคมี จะประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins), ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), ลิกแนนส์ (Lignans), ไกลโคไซด์ (Glycosides), ซาโปนิน (Saponin) ฯลฯ

ภาพจาก : disthai.com

สรรพคุณลูกใต้ใบ

  1. รากและใบของลูกใต้ใบ ใช้ยาชงกินกับน้ำเป็นยาบำรุงร่างกาย (รากและใบของลูกใต้ใบ)
  2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก,น้ำต้มใบ)
  3. ในเขมรใช้ลูกใต้ใบ เป็นยาเจริญอาหาร
  4. ผลใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงสายตา ทำให้สายตาดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ช่วยรักษาโรคตา (ใบ)
  5. ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน แต่มีข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานว่า ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามที่แพทย์สั่ง และควรหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ (ต้น) โดยให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria จำนวน 1 กำมือ นำมาต้มดื่ม (ทั้งต้น)
  6. ช่วยลดความดันโลหิต (ทั้งต้น )
  7. ลูกใต้ใบ สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้จับสั่น ไข้ทับระดู ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากการอ่อนเพลีย) ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ลูกใต้ใบตากแห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชาดื่มก็ได้เช่นกัน (ต้น,ทั้งต้น,ผล,ราก,น้ำต้มใบ)
  8. ช่วยรักษามาลาเรีย (น้ำต้มใบ)
  9. ช่วยแก้อาการไอ (ทั้งต้น) ใบอ่อนใช้เป็นยาแก้ไอสำหรับเด็ก (ใบอ่อนของลูกใต้ใบ)
  10. ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ  นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำอุ่น แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 อึก วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน (ทั้งต้น)
  11. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกิน (ทั้งต้น,ผล)

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย 



ปฏิกิริยาของคุณ?