พิกุล สรรพคุณและประโยชน์
พิกุล สรรพคุณและประโยชน์
ต้นพิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว


สมุนไพร พิกุล

สมุนไพร พิกุล ชื่อสามัญ Asian bulletwood, Bullet wood, Bukal, Tanjong tree, Medlar, Spanish cherry

สมุนไพร พิกุล ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi var. parvifolia (R.Br.) H.J.Lam, Mimusops parvifolia R.Br.) จัดอยู่ในวงศ์พิกุล (SAPOTACEAE)

สมุนไพรพิกุล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ซางดง (ลำปาง), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุลป่า (สตูล), แก้ว (ภาคเหนือ), กุน (ภาคใต้), ไกรทอง, ตันหยง, มะเมา, พกุล, พิกุลทอง เป็นต้น

ลักษณะของพิกุล

ต้นพิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งก่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน มีการเพาะปลูกมากในมาเลเซีย เกาะโซโลมอน นิวคารีโดเนีย วานุอาตู และออสเตรเลียทางตอนเหนือ รวมไปถึงเขตร้อนทั่ว ๆ ไป(เปลือกต้น พบว่ามีสารในกลุ่มไตรเทอร์ปีน ได้แก่ Beta amyrin, Betulinic acid, Lupeol, Mimusopfarnanol, Taraxerone, Taraxerol, Ursolic acid, สารในกลุ่มกรดแกลลิค ได้แก่ Phenyl propyl gallate, น้ำมันหอมระเหย ได้แก่ Cadinol, Diisobutyl phthalate, Hexadecanoic acid, Octadecadienoic acid, Taumuurolol, Thymol)

ใบพิกุล มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันแบบห่าง ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี ใบมีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นสีเขียวเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบจะเป็นสีเขียวอ่อน และเนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างเหนียว ส่วนก้านใบยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปเรียวแคบ ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และหลุดร่วงได้ง่าย

ดอกพิกุล ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกประมาณ 2-6 ดอก โดยจะออกตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ดอกพิกุลจะมีขนาดเล็กสีขาวนวล มีกลิ่นหอม (กลิ่นยังคงอยู่แม้ตากแห้งแล้ว) และหลุดร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม มีขนสั้นสีน้ำตาลนุ่ม ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร โดยกลีบดอกจะสั้นกวากลีบเลี้ยงเล็กน้อย กลีบดอกมี 8 กลีบ ที่โคนกลีบเชื่อมกันเล็กน้อย กลีบดอกแต่ละกลีบจะมีส่วนยื่นออกมาด้านหลัง 2 ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นจะมีลักษณะ ขนาด และสีคล้ายคลึงกับกลีบดอกมาก ดอกมีเกสรตัวผู้สมบูรณ์ 8 อัน อับเรณูเป็นรูปใบหอกและยาวกว่าก้านชูอับเรณู เกสรตัวผู้เป็นหมัน 8 อัน และรังไข่มี 8 ช่อง เมื่อดอกใกล้โรยจะเป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาล สามารถออกดอกได้ตลอดปี (ดอกมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วย 3-hydroxy-4-phenyl-2-butanone 4.74%, 2-phenylethanol 37.80%, 2-phenylethyl acetate 7.16%, (E)-cinnamyl alcohol 13.72%, Methyl benzoate 13.40%, p-methyl-anisole 9.94%)

ผลพิกุล ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ถึงรี ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียวมีขนสั้นนุ่ม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแสด ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร เนื้อในผลเป็นสีเหลืองมีรสหวานอมฝาดและมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ลักษณะแบนรี แข็งสีดำเป็นมัน ติดได้ตลอดปี (ผลและเมล็ดพบ Dihydro quercetin, Quercetin, Quercitol, Ursolic acid, สารในกลุ่มไตรเทอร์ปีน ซึ่งได้แก่ Mimusopane, Mimusops acid, Mimusopsic acid ส่วนเมล็ดพบสารไตรเทอร์ปีนซาโปนินได้แก่ 16-alpha-hydroxy Mi-saponin, Mimusopside A and B, Mi-saponin A และยังมีสารอื่น ๆ อีก ได้แก่ Alpha-spinasterol glucoside, Taxifolin)

สรรพคุณของพิกุล

  1. ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ดอก,แก่น,แก่นที่ราก,ราก)
  2. แก่นที่รากและดอกแห้ง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ส่วนดอกสดใช้เข้ายาหอมมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจเช่นกัน (ดอก,ขอนดอก,แก่นที่ราก)
  3. ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ขอนดอก,ดอกแห้ง)
  4. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้โลหิต (ดอก,ราก), ฆ่าพิษโลหิต (เปลือกต้น)
  6. ช่วยแก้เลือดตีขึ้นให้สลบไป แก้เลือดตีขึ้นถึงกับตาเหลือง (ใบ)
  7. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ดอกแห้ง)
  8. ช่วยแก้หอบ (ดอกแห้ง)
  9. ช่วยแก้หืด (ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอกแห้ง)
  11. ผลสุกใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะ
  12. ดอกแห้งใช้ป่นทำเป็นยานัตถุ์
  13. ช่วยรักษาโรคคอ (เปลือกต้น)
  14. ผลสุกใช้รับประทานแก้โรคในลำคอและปาก

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย 



ปฏิกิริยาของคุณ?