กะทกรก สรรพคุณและประโยชน์
กะทกรก สรรพคุณและประโยชน์
ต้นกะทกรก จะเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ


สมุนไพร กะทกรก

สมุนไพร กะทกรก ชื่อสามัญ Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking Passion Flower

สมุนไพร กะทกรก ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora foetida L. จัดอยู่ในวงศ์กะทกรก (PASSIFLORACEAE)

สมุนไพรกะทกรก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักขี้หิด (เลย),รุ้งนก (เพชรบูรณ์), เงาะป่า (กาญจนบุรี), เถาเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท), ยันฮ้าง (อุบลราชธานี), เยี่ยววัว (อุดรธานี), ผักบ่วง (สกลนคร), หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์), เครือขนตาช้าง (ศรีษะเกษ), ตำลึงฝรั่ง ตำลึงทอง ผักขี้ริ้ว ห่อทอง (ชลบุรี), รกช้าง (ระนอง), หญ้ารกช้าง (พังงา), ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ), รก (ภาคกลาง), กระโปรงทอง (ภาคใต้), ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), ผักแคบฝรั่ง (ขมุ), มั้งเปล้า (ม้ง), หล่อคุ่ยเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), เล่งจูก้วย เล้งทุงจู (จีน), รังนก, กะทกรกป่า เป็นต้น

ลักษณะของกะทกรก

ต้นกะทกรก จะเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ

ใบกะทกรก มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว

ดอกกะทกรก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบดอก 10 กลีบ กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในเป็นสีขาว มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยมีสีขาวโคนม่วง ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย ดอกมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสตัวผู้ประมาณ 5-8 อัน ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีประมาณ 3-4 อัน รังไข่เกลี้ยง

ผลกะทกรก หรือ ลูกกะทกรก ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมสีส้ม และมีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ (คล้ายกับเมล็ดแมงลักแช่น้ำ) มีรสหวานแบบปะแล่ม ๆ และจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

ภาพจาก th.wikipedia.org

สรรพคุณของกะทกรก

  1. กะทกรก สรรพคุณของเปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง
  2. เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้) ส่วนเถาใช้เป็นยาธาตุ
  3. รากสดหรือรากตากแห้ง ใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา จะช่วยทำให้สดชื่น
  4. ผลดิบมีรสเมาเบื่อ ส่วนผลสุกมีรสหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงปอด
  5. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ
  6. ช่วยถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด (เนื้อไม้)
  7. ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง (ราก)
  8. แพทย์ชาวเวียดนามใช้ใบเป็นสงบระงับ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำกิน
  9. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบนำมาตำใช้พอกหรือประคบที่ศีรษะ (ใบ)
  10. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น
  11. ใบใช้ตำพอกศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก
  12. ช่วยแก้อาการไอ (ใบ,ดอก,ต้น,ทั้งต้น)
  13. ช่วยขับเสมหะ (ใบ,ต้น,ทั้งต้น)

ขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย 



ปฏิกิริยาของคุณ?