เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณและประโยชน์
เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณและประโยชน์
ต้นเฉียงพร้านางแอ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 25-30 เมตร และสูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นเปลา ตั้งตรง เป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มรูปกรวยกว้างทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมสีแดงถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ และมีรูอากาศมาก หรือเปลือกต้นอาจหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว


สมุนไพร เฉียงพร้านางแอ

สมุนไพร เฉียงพร้านางแอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carallia brachiata (Lour.) Merr จัดอยู่ในวงศ์ RHIZOPHORACEAE เช่นเดียวกับโกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่

สมุนไพร เฉียงพร้านางแอ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า แก็ก วงคต วงคด องคต (ลำปาง), บงคด (แพร่), นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่), ขิงพร้า เขียงพร้า (ตราด, ประจวบคีรีขันธ์), กวางล่าม้า (ภาษาชอง-ตราด), ม่วงมัง หมักมัง (ปราจีนบุรี), โองนั่ง (อุตรดิตถ์), บงมัง (ปราจีนบุรี, อุดรธานี), เขียงพร้านางแอ (ชุมพร), เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์), ร่มคมขวาน (กรุงเทพ), สีฟันนางแอง (ภาคเหนือ), ต่อไส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง), คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้), สะโข่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), กูมุย (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น

ลักษณะของเฉียงพร้านางแอ

ต้นเฉียงพร้านางแอ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 25-30 เมตร และสูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นเปลา ตั้งตรง เป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มรูปกรวยกว้างทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมสีแดงถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ และมีรูอากาศมาก หรือเปลือกต้นอาจหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว อาจพบลักษณะคล้ายรากค้ำจุนแบบ Prop root เป็นเส้นยาว หรือจะออกเป็นกระจุกตามลำต้นหรือส่วนของโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และมีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณ ป่าพรุน้ำจืด ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับทะเลจนถึง 1,300 เมตร แต่ในภูมิภาคมาเลเซียจะพบจนถึงระดับความสูงที่ 1,800 เมตร

ใบเฉียงพร้านางแอ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมนมีติ่งเล็กแหลม ส่วนฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบเป็นเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงหนาและและเหนียว หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา ท้องใบสีอ่อนกว่า มีจุดสีน้ำตาลกระจาย และมีหูใบอ่อนเป็นรูปหอกแหลมที่ปลายกิ่ง เมื่อร่วงจะเห็นรอยแผล บริเวณข้อพองเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร

ดอกเฉียงพร้านางแอ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนง แบบกระจุกสั้นๆ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็กเรียงตัวกันแน่นเป็นช่อกลม โดนจะออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง แตกแขนงเป็น 4 กิ่ง กลีบดอกแยกอิสระจากกัน กลีบดอกครีม ลักษณะเป็นรูปกลม ขอบกลีบหยักเว้าพับจีบ โคนสอบแหลมเป็นก้านติดเรียงสลับกับกลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก และยาวไม่เท่ากัน ส่วนจานฐานดอกเป็นวง มีรังไข่เป็นพู 3-4 พู โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผลเฉียงพร้านางแอ เป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดเล็ก และออกเป็นกระจุก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ปลายผลคล้ายมงกุฎ ผิวผลเป็นมัน มีเนื้อบางสีเขียวห่อหุ้มอยู่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเมื่อสุดจัด ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลหรือดำ มีเนื้อเยื่อหนาสีส้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต โดยผลจะสุกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ภาพจาก disthai.com

สรรพคุณของเฉียงพร้านางแอ

  1. ลูกเฉียงพร้านางแอลำต้นใช้ต้มน้ำดื่มช่วยบำรุงร่างกาย
  2. ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยทำให้เจริญอาหาร หรือใช้เป็นยาเจริญอาหารสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร
  3. ลำต้นใช้ฝนน้ำกินช่วยแก้ไข้ หรือใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาไข้ตัวร้อน
  4. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  5. ช่วยละบายความร้อน
  6. ช่วยขับเสมหะและโลหิต ปิดธาตุ
  7. เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณของแก่นช่วยขับลม
  8. ช่วยแก้บิด
  9. ช่วยแก้พิษผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ ทำให้อาการของโรคกำเริบ และอาจมีอาการท้องเสีย) ด้วยการใช้ลำต้น ผสมกับลำต้นแคด เปลือกของต้นตับเต่าต้น นำมาต้มกับน้ำดื่ม
  10. ช่วยในการสมานแผล

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย 



ปฏิกิริยาของคุณ?