ชิงชี่ สรรพคุณและประโยชน์
ชิงชี่ สรรพคุณและประโยชน์
ต้นชิงชี่ จัดเป็นไม้พุ่มหรือกึ่งเลื้อย หรือเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-6 เมตร กิ่งก้านอ่อนเป็นสีเขียว กิ่งคดไปมา ผิวเรียบเกลี้ยง มีหนามยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ลักษณะตรงหรือโค้งเล็กน้อย ส่วนลำต้นเป็นสีเทา ผิวเปลือกต้นเป็นกระสีขาว ๆ แตกระแหง


ชิงชี่ สรรพคุณและประโยชน์

ชิงชี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Capparis micracantha DC. จัดอยู่ในวงศ์กุ่ม (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)

สมุนไพรชิงชี่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนวดแมวแดง (เชียงใหม่), แส้ม้าทลาย (เชียงราย), ซิซอ (ปราจีนบุรี), คายซู (อุบลราชธานี), น้ำนอง (สุโขทัย), ชายชู้ หมากหมก (ชัยภูมิ), พุงแก (ชัยนาท), ค้อนกลอง (เพชรบูรณ์), ค้อนฆ้อง (สระบุรี), กระดาดป่า กระดาษป่า (ชลบุรี), ราม (สงขลา), พวงมาระดอ เม็งซอ (ปัตตานี), กระดาดขาว กระดาษขาว กระโรกใหญ่ จิงโจ้ พญาจอมปลวก แสมซอ (ภาคกลาง), กิรขี้ กินขี้ ชิงชี ชิงวี่ ชินซี่ ซาสู่ต้น แซ่สู่ต้น แซ่ม้าลาย แส้ม้าทะลาย น้ำนองหวะ ปู่เจ้าสมิงกุย เป็นต้น

ลักษณะของชิงชี่

ต้นชิงชี่ จัดเป็นไม้พุ่มหรือกึ่งเลื้อย หรือเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-6 เมตร กิ่งก้านอ่อนเป็นสีเขียว กิ่งคดไปมา ผิวเรียบเกลี้ยง มีหนามยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ลักษณะตรงหรือโค้งเล็กน้อย ส่วนลำต้นเป็นสีเทา ผิวเปลือกต้นเป็นกระสีขาว ๆ แตกระแหง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ตามสภาพดินแห้ง เขาหินปูนที่แห้งแล้ง ภูเขา หินปูนใกล้กับทะเล ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าโปร่งทั่วไป พบได้ทุกภาคในประเทศไทย ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 500 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน อันดามัน และไฮหนาน

ใบชิงชี่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลม หรือเว้าเล็กน้อยและเป็นติ่ง ส่วนขอบใบมนหรือค่อนข้างเว้า ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-15 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9.5-24 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา มัน และเกลี้ยง หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร[4]
ใบชิงชี่

ดอกชิงชี่ ออกดอกเดี่ยว ออกเรียงเป็นแถว 1-7 ดอก โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ออกเรียงอยู่เหนือง่ามใบ กลีบดอกเป็นสีขาวหลุดร่วงได้ง่าย มี 2 กลีบ ด้านนอกสีขาวแต้มเหลืองและจะเปลี่ยนเป็นแต้มสีม่วงปนสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอก มีขนาดกว้างประมาณ 3-7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 10-25 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำหวานที่โคนก้านดอก ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กฝอย ๆ สีขาวคล้ายหนวดแมวยื่นยาวออกมา มีประมาณ 20-35 อัน ก้านยาว มีรังไข่เป็นรูปไข่ เกลี้ยง ส่วนกลีบรองกลีบดอกมีลักษณะเว้าเป็นรูปเรือแกมรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5.5-13 มิลลิเมตร ขอบมักมีขน ก้านดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ผลชิงชี่ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลค่อนข้างกลมหรือรี ผิวผลเรียบแข็งเป็นมัน มี 4 ร่องตามยาวของผล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 3-6.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือแดง หรือดำ ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไต สีแดงหรือดำเป็นมันอัดแก่นอยู่เป็นจำนวนมาก

ภาพจาก : สมุนไพร-ไทย.com

สรรพคุณและประโยชน์ของชิงชี่

  1. ทั้งต้นมีรสขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)
  2. ใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (คือไข้ที่มีอาการวิงเวียน ตาลาย เลือดกำเดาไหล แน่นหน้าอก เกิดขึ้นร่วมกัน) ไข้พิษฝีกาฬ (ฝีกาฬคือฝีที่เกิดบริเวณนิ้วมือ สีดำ ทำให้มีอาการปวดศีรษะและแสบร้อนมาก อาจทำให้แน่นิ่งไปได้) (ใบ)
  3. รากและใบช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว (อาการไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น เหือด หัด อีสุกอีใส (ราก, รากและใบ)
  4. ช่วยรักษาไข้เพื่อดีและเลือด มักจะใช้ได้ดีในตอนต้นไข้ (ราก)
  5. ใบใช้เข้ายาอาบ รักษาโรคประดง (อาการของโรคผิวหนังที่มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมาก และมักมีไข้ร่วมด้วย) (ใบ,ดอก)
  6. รากมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ร้อนภายในทุกชนิด แก้ไข้เพื่อดีและโลหิต (ราก) รากและใบใช้เป็นยาระงับความร้อน (รากและใบ)
  7. รากใช้เป็นยาหยอดตา แก้โรคและรักษาดวงตา (ราก)
  8. รากและใบใช้เป็นยาแก้หืด (ราก, รากและใบ)
  9. เนื้อไม้ใช้เป็นยารักษาโรคหลอดลมอักเสบและอาการอักเสบที่เยื่อจมูก (เนื้อไม้)
  10. ผลใช้รักษาโรคที่เกิดในลำคอ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ (ผล)
  11. เมล็ดนำมาคั่วเป็นยาแก้ไอ (เมล็ด) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไออันเนื่องมาจากหลอดลมอักเสบ (ราก)
  12. ช่วยแก้อาการเจ็บในทรวงอก (รากและใบ)
  13. ใบนำมาเผาสูดเอาควันเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)
  14. รากมีรสขมขื่น ใช้เป็นยาขับลมภายในให้ซ่านออกมา (ราก)
  15. รากใช้เป็นยารักษาโรคที่เกิดในท้อง (ราก)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน
ภาพจาก : nanagarden



ปฏิกิริยาของคุณ?