เติม (ต้นประดู่ส้ม) สรรพคุณและประโยชน์
เติม (ต้นประดู่ส้ม) สรรพคุณและประโยชน์
ต้นเติม หรือ ต้นประดู่ส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียไปจนถึงประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก โดยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ หรือริมลำห้วยที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,000 เมตร ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร


เติม (ต้นประดู่ส้ม) สรรพคุณและประโยชน์

เติม หรือ ประดู่ส้ม ชื่อสามัญ Java cedar

เติม ชื่อวิทยาศาสตร์ Bischofia javanica Blume จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (ฺPHYLLANTHACEAE)

ต้นเติม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดู่ส้ม (กาญจนบุรี, นครราชสีมา), ดู่น้ำ ประดู่ส้ม (ชุมพร), ประส้มใบเปรี้ยว ประดู่ใบเปรี้ยว (อุบลราชธานี), ยายตุหงัน (เลย), กระดังงาดง (สุโขทัย), จันบือ (พังงา), ส้มกบ ส้มกบใหญ่ (ตรัง), กุติ กุตีกรองหยัน กรองประหยัน ขมฝาด จันตะเบือ ย่าตุหงัน (ยะลา), ยายหงัน (ปัตตานี), ไม้เติม (คนเมือง), ซะเต่ย (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ซาเตอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ชอชวาเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ด่งเก้า (ม้ง), เดี๋ยงซุย (เมี่ยน), ไม้เติม ลำผาด ลำป้วย (ลั้วะ), ด่อกะเติ้ม (ปะหล่อง), ละล่ะทึม (ขมุ), ชิวเฟิงมู่ ฉง หยางมู่ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นเติม

ต้นเติม หรือ ต้นประดู่ส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียไปจนถึงประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก โดยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ หรือริมลำห้วยที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,000 เมตร ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดค่อนข้างทึบ กิ่งมักคดงอ ลำต้นมีเนื้อไม้สีน้ำตาลอมสีเหลือง มีกลิ่นหอม เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเป็นสีน้ำตาลอมแดง และจะเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอมแดง และมียางสีแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง

ใบเติม ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกัน ก้านใบรวมยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยข้างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านใบปลายยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปรีแกมไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักโค้งแกมฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร เนื้อใบหนาเกลี้ยง ด้านหลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ใบเมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด

ดอกเติม ออกดอกเป็นช่อ แยกแขนงออกตามซอกใบ ช่อดอกห้อยลง มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่ละช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เป็นสีเหลืองอ่อนอมเขียว ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน (บ้างว่าอยู่กันคนละต้น) โดยดอกเพศผู้จะมีกาบลักษณะเป็นรูปหอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน มีเกสรเพศเมียที่เป็นหมันเป็นแผ่นกว้าง ก้านเกสรสั้น และไม่มีหมอนรองดอก ส่วนดอกเพศเมียมีข้อ ด้านบนหนา กลีบเลี้ยงมีลักษณะโค้งเข้าตรงกลาง ก้านเกสรเพศเมียสั้นปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉกโค้งกลับ เมื่อดอกบานจะบานพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก และดอกจะร่วงโรยทั้งต้นในวันรุ่งขึ้น โดยจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม

ผลเติม ออกผลเป็นช่อ ๆ ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลืองหรือเป็นสีส้มแกมสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ด และมีเนื้อหุ้มอยู่ โดยผลจะแก่จัดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

ภาพจาก : herb.in.th

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเติม (ต้นประดู่ส้ม)

  1. เนื้อไม้มีรสฝาดขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตกำเดา แก้ไข้เพื่อโลหิต (เนื้อไม้)
  2. รากและเปลือกใช้เป็นยาฟอกโลหิต แก้โลหิตกำเดา (รากและเปลือก)
  3. ช่วยแก้ตานซางในเด็ก (ใบ)
  4. ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้เสียงแหบแห้ง (ลำต้น) หรือจะใช้เปลือกลำต้นและใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ (เปลือกต้น, ใบ) ตามตำรับยาระบุให้ใช้ใบสด 35 กรัม นำมาตำให้พอแหลก คั้นเอาแต่น้ำรับประทาน (ใบ)
  5. ดอกมีรสร้อนหอม ช่วยแก้เสมหะ (ดอก)
  6. ช่วยแก้ปอดอักเสบ (ใบ)
  7. เปลือกต้นหรือยอดอ่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น, ยอดอ่อน)
  8. ดอกช่วยแก้ลมจุกเสียด อาการท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ (ดอก)
  9. แก่นลำต้นและเปลือกต้นเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น, แก่น) ส่วนใบก็เชื่อว่าแก้อาการท้องร่วงได้ด้วย โดยอาจจะใช้ต้มให้หมูที่มีอาการท้องร่วงกินเป็นยาด้วยก็ได้ (ใบ)
  10. ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด (ลำต้น) บ้างว่าใช้เปลือกลำต้นและใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้โรคบิดและแก้อาการท้องเดิน (เปลือกต้น, ใบ)
  11. เปลือกต้นใช้ตำผสมกับอาหารที่มีรสจัด จะช่วยป้องกันอาการท้องเสียได้ (เปลือกต้น)
  12. ใช้แก้มะเร็งในกระเพาะอาหารหรือในทางเดินอาหาร ด้วยการใช้ใบสด 60-100 กรัม นำมาต้มกับเนื้อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน หรือจะใช้ใบสด 60 กรัม นำมาผสมกับกาฝากลูกท้อ, ยิ้ง, แปะหม่อติ้ง, จุยเกียมเช่า อย่างละ 15 กรัม นำมาผสมรวมกันต้มกับน้ำ 2 ครั้ง ใช้แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง (ใบ)
  13. ช่วยแก้ตับอักเสบเนื่องจากติดไวรัส (ใบ)
  14. ใบใช้ภายนอกเป็นยาแก้ฝีหนอง (ใบ)
  15. ช่วยลดบวม (รากและเปลือก)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน
ภาพจาก : knowledge2u



ปฏิกิริยาของคุณ?