พญาสัตบรรณ (ต้นตีนเป็ด) สรรพคุณและประโยชน์
พญาสัตบรรณ (ต้นตีนเป็ด) สรรพคุณและประโยชน์
ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล


พญาสัตบรรณ (ต้นตีนเป็ด) สรรพคุณและประโยชน์

พญาสัตบรรณ ชื่อสามัญ Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree

พญาสัตบรรณ ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

สมุนไพรพญาสัตบรรณ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด เป็นต้น

ลักษณะของพญาสัตบรรณ

ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย

ใบพญาสัตบรรณ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ มีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมนโคนแหลม ขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น เมื่อเด็ดออกจะมีน้ำยาวสีขาว
ใบพญาสัตบรรณ

ดอกพญาสัตบรรณ ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้น หนึ่งช่อจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

ผลพญาสัตบรรณ ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียว มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย

ภาพจาก home.kapook.com

สรรพคุณและประโยชน์ พญาสัตบรรณ (ต้นตีนเป็ด)

  1. ปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
  2. เปลือกต้นสัตบรรณมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น)
  3. น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง)
  4. น้ำยางจากต้นใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง)
  5. ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ)
  6. เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
  7. ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ใบ)
  8. ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก)
  9. เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)
  10. ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)
  11. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น)
  12. ช่วยขับระดูของสตรี (เปลือกต้น)
  13. ช่วยขับน้ำนม (เปลือกต้น)
  14. ใบใช้พอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้ (ใบ)
  15. ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบและยางสีขาวในการนำมาใช้รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ (ใบ, ยาง)
  16. ยางใช้รักษาแผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว (ยาง)
  17. เปลือกต้นใช้ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจาก : prayod



ปฏิกิริยาของคุณ?