โกฐน้ำเต้า สรรพคุณและประโยชน์
โกฐน้ำเต้า สรรพคุณและประโยชน์
ต้นโกฐน้ำเต้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบยุโรป ในประเทศอินเดีย จีน ทิเบต รัสเซีย โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงของต้นประมาณ 2 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขามากและมีใบเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเรียบมัน


โกฐน้ำเต้า สรรพคุณและประโยชน์

โกฐน้ำเต้า ภาษาอังกฤษ Rhubarb

โกฐน้ำเต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Rheum palmatum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)

สมุนไพรโกฐน้ำเต้า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตั้วอึ้ง (จีน), ตั่วอึ๊ง (จีนแต้จิ๋ว), ต้าหวง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโกฐน้ำเต้า

ต้นโกฐน้ำเต้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบยุโรป ในประเทศอินเดีย จีน ทิเบต รัสเซีย โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงของต้นประมาณ 2 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขามากและมีใบเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเรียบมัน มีลายเล็กน้อยและไม่มีขนปกคลุม มีเหง้าอยู่ใต้ดินขนาดป้อมและใหญ่ เนื้อนิ่ม ลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นโพรงกลวงและมียางสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกลำต้น และวิธีการเพาะเมล็ด[

ใบโกฐน้ำเต้า ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ เป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ มีประมาณ 3-7 แฉก มีขนาดกว้างและยาวใกล้เคียงกัน ใบมีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อยเล็กน้อย หน้าใบและหลังใบมีขนขึ้นปกคลุม ก้านใบมีขนาดใหญ่และยาว ตรงบริเวณก้านใบมีขนสีขาวปกคลุมอยู่

ดอกโกฐน้ำเต้า ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งก้าน ดอกเป็นข้อ ๆ ในก้านช่อกิ่งหนึ่งจะมีประมาณ 7-10 ช่อ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ดอกย่อยจะแยกออกเป็นแฉก 6 แฉก ดอกมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น 2 ชั้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 9 ก้าน

ผลโกฐน้ำเต้า ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม บริเวณเหลี่ยมจะมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ ผลเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 7-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 9-10 มิลลิเมตร โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคม

ภาพจาก : samunpri.com

สรรพคุณและประโยชน์ของโกฐน้ำเต้า

  1. เหง้ามีรสขมและมีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ และตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ขับพิษร้อน ระบายความร้อน ขับพิษในร่างกาย ใช้ในผู้ป่วยที่มีระบบโลหิตร้อน (อาเจียนเป็นเลือด มีเลือดกำเดา ตาแดง เหงือกบวม คอบวม) (เหง้า)
  2. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยกระจายเลือดคั่ง (เหง้า)
  3. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุให้เป็นปกติ ช่วยแก้ธาตุพิการ และคายพิษในธาตุ (เหง้า)
  4. เหง้าใช้แก้โรคตาแดงแสบร้อน แก้โรคในดวงตา (เหง้า)
  5. ช่วยแก้โลหิตกำเดา (เหง้า)
  6. ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (เหง้า)
  7. ใช้เป็นยาลดไข้และความร้อนในร่างกาย (เหง้า)
  8. ช่วยแก้อาการตัวเหลือง (เหง้า)
  9. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารและช่วยในการย่อยอาหาร (เหง้า)
  10. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เหง้า)
  11. ช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ช่วยขับของเสียตกค้างที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ (อาการท้องผูกจากภาวะร้อน ตัวร้อนจัด) หยางในระบบม้ามไม่เพียงพอ มีของเสียและความเย็นตกค้าง ทำให้เกิดอาการท้องผูก มีอาหารตกค้าง มีอาการปวดท้องน้อย ขับถ่ายไม่สะดวก และมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้บีบตัว (เหง้า)
  12. ใช้เป็นยาแก้อุจจาระและปัสสาวะไม่ปกติ (เหง้า)
  13. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงงอก (เหง้า)
  14. แก้เลือดอุดตันหรือเลือดคั่ง ทำให้ประจำเดือนของสตรีมาไม่ปกติ (เหง้า)
  15. ช่วยแก้ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (เหง้า)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน
ภาพจาก : medthai



ปฏิกิริยาของคุณ?