ผกากรอง สรรพคุณและประโยชน์
ผกากรอง สรรพคุณและประโยชน์
ต้นผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อน และภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร


ผกากรอง ชื่อสามัญ Cloth of gold, Hedge flower, Lantana, Weeping lantana, White sage

ผกากรอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Lantana camara L. จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)

สมุนไพรผกากรอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขะจาย มะจาย ตาปู (แม่ฮ่องสอน), คำขี้ไก่ (เชียงใหม่), ดอกไม้จีน (ตราด), ไม้จีน (ชุมพร), ขี้กา (ปราจีนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), สามสิบ (จันทบุรี), ยี่สุ่น (ตรัง), เบ็งละมาศ สาบแร้ง หญ้าสาบแร้ง (ภาคเหนือ), ก้ามกุ้ง เบญจมาสป่า หญ้าสาบแร้ง (ภาคกลาง), จีน, โงเซกบ๊วย (จีนแต้จิ๋ว), อู่เซ่อเหมย หม่าอิงตาน (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของผกากรอง

ต้นผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อน และภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ (ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการปักชำ เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า) ผกากรองเป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว จึงจัดเป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนทานมาก หลาย ๆ แห่งถือว่ามันเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เพราะสามารถขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ จึงมักพบขึ้นตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง

ใบผกากรอง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนหยาบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนปกคลุมเล็กน้อย เมื่อลูบจะรู้สึกระคายมือ เส้นใบมีลักษณะย่น ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

ดอกผกากรอง ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกตามง่ามใบหรือส่วนยอดของกิ่ง ขนาดช่อดอกกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยดอกหลายสิบดอก (ช่อละประมาณ 20-25 ดอก) ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นรูปกรวย มีกลิ่นฉุน กลีบดอกบานออกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกจะทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปในช่อดอก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอก 4 ก้านอยู่ติดกับกลีบดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว (ผกากรอง), สีเหลือง (ผกากรองเหลือง), สีแดง (ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง) และยังมีสีแสด สีชมพู และหลายสีในช่อดอกเดียวกัน เป็นต้น (แต่ในปัจจุบันมีการผสมพันธุ์จนเกิดสีผสมใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ และขนาดของดอกหรือช่อดอกก็โตขึ้นด้วย) และยังสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ผลผกากรอง ผลจะพบบริเวณในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปกลม ออกผลเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง เป็นผลสดแบบมีเนื้อ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อนิ่ม เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 2 เมล็ด

ภาพจาก : samunpri.com

สรรพคุณและประโยชน์ของผกากรอง

  1. รากช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ราก)
  2. รากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยแก้อาการเวียนศีรษะจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวได้ (ราก)
  3. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  4. ใช้แก้เด็กซึมเซา ง่วงนอนเสมอ ด้วยการใช้ดอกผกากรอง แห้งหนัก 1 บาท ผสมกับดอกทานตะวันแห้ง 1 ดอก นำมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วนำมาดื่ม (ดอก)
  5. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ราก)
  6. ช่วยแก้คางทูม ด้วยการใช้ผกากรองแห้งหนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก)
  7. รากมีรสจืดขม ใช้เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้หวัด ไข้สูง แก้ไข้หวัดตัวร้อน หวัดใหญ่ ด้วยการใช้รากแห้งหนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก)ตำรับยาจีนจะใช้รากผกากรองสด, กังบ๊วยกึง, ซึ่งปัวจิ้กึงหนักอย่างละ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  8. ช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการเจียนเป็นเลือด (ดอก)
  10. ช่วยแก้วัณโรค วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้ง หนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)
  11. ช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล (ราก)
  12. ช่วยแก้หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  13. ช่วยขับลม (ราก, ใบ) ขับลมชื้น (ราก)
  14. ดอกใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องอาเจียน ด้วยการใช้ดอกผกากรองสดหนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำสะอาด ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยา (ดอก)
  15. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (ราก)
  16. ใบมีคุณสมบัติห้ามเลือดและช่วยรักษาแผลสดได้ เราจะใช้ใบมาตำหรือขยี้ให้ช้ำแล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผลสด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย (ใบ, ดอก)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน
ภาพจาก : thaigoodview



ปฏิกิริยาของคุณ?