ปลากาแดงเผือก
ปลากาแดงเผือก
ลักษณะทั่วไปของปลากาแดงเผือก เป็นปลากาแดงที่ได้จากการเพาะลี้ยง ซึ่งเป็นลักษณะด้อยของปลาที่แสดงออกมา โดยลักษณะที่ว่านี้เกิดจากความบกพร่องในการสร้างเม็ดสีที่ลำตัวปลา


ภาพจาก aqua.c1ub.net

ปลากาแดงเผือก

ชื่อสามัญ ปลากาแดงเผือก Albino rainbow shark

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลากาแดงเผือก Epalzeorhychos frenatum (Fowler, 1934)

ลักษณะทั่วไปของปลากาแดงเผือก

เป็นปลากาแดงที่ได้จากการเพาะลี้ยง ซึ่งเป็นลักษณะด้อยของปลาที่แสดงออกมา โดยลักษณะที่ว่านี้เกิดจากความบกพร่องในการสร้างเม็ดสีที่ลำตัวปลา จึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่มีสีลำตัว หรือเป็นสีส้มอ่อนจึงทำให้มองเห็น ลำตัวมีสีขาวหรือสีทอง จุดเด่นอยู่ที่ดวงตาสีแดง ส่วนครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงเช่นเดียวกับปลากาแดง ปลากาแดงเผือกนี้จัดเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมสูง โดยมีราคาแพงกว่าปลากาแดงเล็กน้อย

การเพาะพันธุ์ ปลากาแดงเผือก

ใช้วิธีเพาะผสมเทียม โดยการใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองของปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาจีน ปลาสวาย และ ปลาไน เป็นต้น การเพาะพันธุ์ใช้พ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่มาทำการเพาะ โดยมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม ซึ่งให้ลูกปลาประมาณ 5,000-7,000 ตัว การผสมเทียมทำการฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก ฉีดในอัตราความเข้มข้น 0.25 โดส แล้วเว้น 6 ชั่วโมง ครั้งที่สองใช้ 0.75-1.00 โดส เว้นระยะเวลา 5-6 ชั่วโมง จึงรีดไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวแล้วในระยะ 1-2 วันแรก ไม่ต้องให้อาหารต่อมาจึงให้ไข่แดงต้มสุกขยี้ให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยพรมให้ทั่วบ่อ เมื่อลูกปลาขนาดใหญ่ขึ้นก็ปรับเปลี่ยนมาให้ไรแดงเป็นอาหาร ในปัจจุบันนิยมใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีขนาดประมาณ 50 กรัมขึ้นไป

อุปนิสัย ปลากาแดงค่อนข้างเลี้ยงง่ายกว่าปลาทรงเครื่อง ลูกปลากาแดงตัวเล็กๆก็เลี้ยงง่ายกว่าลูกปลาทรง เครื่อง และมีปริมาณรอดตายมากกว่า อุปนิสัยโดยทั่วๆไปเช่นเดียวกับปลาทรงเครื่อง

การเลี้ยงดู ความเป็นอยู่และอาหารการกินของปลากาแดงทำนองเดียวกับปลาทรงเครื่องและสามารถเลี้ยงรวมกับปลาทรงเครื่องได้ดี

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด



ปฏิกิริยาของคุณ?