มะม่วงหาวมะนาวโห่ สรรพคุณและประโยชน์

มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจะมีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน

สมุนไพร มะม่วงหาวมะนาวโห่

สมุนไพร มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อสามัญ Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda

สมุนไพร มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa carandas L. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

สมุนไพรมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากชื่อ “มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่” พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนามขี้แฮด (เชียงใหม่), หนามแดง (กรุงเทพฯ), มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้) เป็นต้น

มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจะมีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน มีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง เมื่อกัดไปแล้วจะมียางเหนียว ๆ ฝาดคอ (เป็นผลไม้ในวรรณคดีเรื่องพระรถเมรี (นางสิบสอง) ใครเคยอ่านคงทราบกันดี)

มะนาวไม่รู้โห่หรือหนามแดง เป็นผลไม้ที่หลาย ๆ คนมองข้าม เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้มีหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณก็ฟันทิ้งกันไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลายในการช่วยซ่อมแซมร่างกายและช่วยรักษาโรคได้แทบทุกชนิด สำหรับวิธีกินก็นำมาล้างให้สะอาดแล้วรับประทานกันสด ๆ ได้เลยครับ

นอกจากผลแล้ว ส่วนอื่น ๆ ก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ยอดอ่อน เมล็ด เนื้อไม้ และแก่น ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งยางก็ช่วยในการสมานแผลได้ เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนจริง ๆ แล้วเราจะไม่เรียกหนามแดงว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายได้ยังไง

สำหรับผู้ที่รับประทานผลเข้าไปประมาณ 10 นาที แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจโต ควรรับประทานวันละ 1 ผลเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพจนชินก่อน เมื่อไม่มีอาการแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเป็น 10 ผล รับประทานประมาณ 3 เดือนจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี โดยหญิงชายกินได้ โรคภัยหายสิ้น แต่สำหรับหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่

1.ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)

2.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)

3.ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)

4.มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)

5.มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)

6.ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)

7.ช่วยบำรุงธาตุ (ราก, แก่น, เนื้อไม้)

8.ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น, เนื้อไม้)

9.ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก, ใบ)

10.ช่วยดับพิษร้อน (ราก)

11.ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)

12.ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)

13.ช่วยขับเสมหะ (ผล)

14.มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน

ขอบคุณ ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , stuartxchange

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต