ภาพจาก sukumvithospital.com
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี มีเรื่องที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
คุณ คงเคยได้ยินว่า หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์สูงขึ้น และลูกที่เกิดมา มีโอกาสผิดปกติทางสมองมากขึ้น ตามสถิติแล้วเป็นเช่นนั้นจริงๆค่ะ แต่คุณไม่ต้องตกใจ โอกาสผิดปกติที่ว่านั้น ไม่ได้มากจนน่ากลัวอย่างที่คิดความจริงแล้ว จากการศึกษาพบว่า โอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ในหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี นั้น สาเหตุหลักขึ้นอยู่กับสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ถ้าสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว และไม่มีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้นก็ไม่ต่างกับภาวะทั่วไปมากนัก
มีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้างที่พบมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากขึ้นก็คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะรกเกาะต่ำ ในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว ดังนั้น ถ้าเกิดภาวะเหล่านี้ขึ้น ควรจะต้องได้รับการดูแลจากสูติแพทย์เป็นพิเศษส่วน ในด้านของเด็กนั้น การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้น จะมีโอกาสเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมของเด็กที่เกิดมามากขึ้นเป็นเงาตามตัว จากการศึกษาพบว่า โอกาสที่หญิงอายุ 30 ปี จะมีลูกเกิดมาเป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Down?s syndrome) มีอัตราส่วน 1: 900 และเพิ่มขึ้นเป็น 1: 400 ในหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี, 1:100 เมื่ออายุ 40 ปี และ 1:30 เมื่ออายุ 45 ปี ในปัจจุบันถ้าคุณตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี แพทย์จะเจาะน้ำคร่ำไปตรวจหาว่า เด็กในครรภ์ในเป็นเด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ เพื่อวางแผนในการรักษาตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ
ภาพจาก samitivejhospitals.com
จะปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง คุณไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตัวเป็นพิเศษแต่อย่างไร เพียงให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานวิตามิน และธาตุเหล็กตามที่แพทย์สั่ง และไปตามนัดตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี ส่วนใหญ่แล้วสามารถมีบุตรที่มีสมบูรณ์แข็งแรง และคุณแม่คลอดได้อย่างปลอดภัย ไม่ต่างจากหญิงทั่วไปค่ะ
ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก