กุยช่าย สรรพคุณและประโยชน์

ต้นกุยช่าย จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กและใบกุยช่าย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบแบน ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน

กุยช่าย สรรพคุณและประโยชน์

กุยช่าย ชื่อสามัญ Garlic chives, Leek, Chinese chives, Oriental garlic, Chinese leek, Kow choi (จีน)

กุยช่าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)

สมุนไพรกุยช่าย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักไม้กวาด (ภาคกลาง), ผักแป้น (ภาคอีสาน), กูไฉ่ (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น

กุยช่าย มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ กุยช่ายเขียวและกุยช่ายขาว ซึ่งลักษณะจะไม่แตกต่างกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของกระบวนการปลูกและการดูแลรักษา ในเอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย จีน อินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น จะมีการปลูกกุยช่ายกันอยู่ 2 พันธุ์ นั่นก็คือพันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่ว ๆไปและพันธุ์สีเขียวใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม

ลักษณะของกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กและใบกุยช่าย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบแบน ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน

ดอกกุยช่าย หรือ ดอกไม้กวาด ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ลักษณะช่อดอกเป็นแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร (ยาวกว่าใบ) ออกดอกในระดับเดียวกันที่ปลายของก้านช่อดอก ด้านดอกมีความเท่ากัน และมีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นก็จะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอกมีสีขาว 6 กลีบ มีความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร โคนติดกัน ปลายแยก ที่กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อน ๆ จากโคนกลีบไปหาปลาย เมื่อดอกบานจะกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 ก้านอยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก และเกสรตัวเมียอีก 1 ก้าน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผลกุยช่าย ลักษณะของผลเป็นผลกลม มีความกว้างและยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ภายในมีช่อง 3 ช่องและมีผนังตื้น ๆ ผลเมื่อแก่จะแตกตามตะเข็ม ในผลมีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด

ภาพจาก pobpad.com

สรรพคุณและประโยชน์ของกุยช่าย

  1. ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากใบกุยช่ายมีธาตุฟอสฟอรัสสูง (ใบ)
  2. ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย ไร้สมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากกลิ่นฉุนของน้ำมันหอมระเหยของกุยช่ายจะคล้ายกับกลิ่นของกระเทียม เพราะมีสารประกอบจำพวกกำมะถัน ซึ่งมักจะมีสรรพคุณช่วยในเรื่องเพศ (ใบ)
  3. น้ำมันหอมระเหยจากผักกุยช่ายมีสารอัลลิซิน (Alllicin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (ใบ)
  4. ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (นิตยสารครัว) (ใบ)
  5. ช่วยลดระดับความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (นิตยสารครัว) (ใบ)
  6. สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและวัณโรค ให้นำใบของต้นกุยช่ายมาต้มกับหอยน้ำจืดและรับประทานทุกวัน จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ (ใบ)
  7. ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก ด้วยการใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดนำมาทาในรูหู (ใบ)
    ใช้เป็นยาแก้หวัด (ใบ)
  8. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลได้เป็นอย่างดี (ราก)
  9. เมล็ดช่วยฆ่าแมลงกินฟัน ด้วยการใช้เมล็ดคั่วเกรียมนำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำยางชุบสำลี ใช้อุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน จะช่วยฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้ (เมล็ด)
  10. ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อย อุ่นให้ร้อนแล้วนำมารับประทานก็ได้เช่นกัน (ราก, ใบ)
  11. รากสรรพคุณมีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ (ราก)
  12. ช่วยรักษาอาการหวัด (ใบ)
  13. ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (ราก)
  14. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย แล้วนำมารับประทาน (ต้น)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.)
ภาพจาก : postjung