พัฒนาการของทารกอายุ 3-6 เดือน

ทารกอายุ 3 เดือนไปแล้ว เริ่มยิ้มเมื่อเห็นหน้าคนรอบข้างทำเสียง หัวเราะเสียงดัง มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น แต่ยังเคลื่อนไหวไม่ได้

ทารกอายุ 3 เดือนไปแล้ว เริ่มยิ้มเมื่อเห็นหน้าคนรอบข้างทำเสียง หัวเราะเสียงดัง มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น แต่ยังเคลื่อนไหวไม่ได้ นอกจากพลิกตัวคว่ำและดิ้นกระเถิบไป จึงไม่ควรวางไว้บนเตียง หรือที่สูงเพราะจะตกได้ การเลี้ยงดูในช่วงนี้ นอกจากให้อาหารแล้ว ต้องกระตุ้นพัฒนาการด้วยการเล่นกับเด็ก ให้พบกับคนอื่นบ้าง จะได้ไม่กลัวคนแปลกหน้า

น้ำหนักและความยาวโดยประมาณ

  • อายุ 3 เดือน น้ำหนัก (กิโลกรัม) 5.5 กิโลกรัม ความยาว (เซนติเมตร) 59 เซนติเมตร
  • อายุ 4 เดือน น้ำหนัก (กิโลกรัม) 6.0 กิโลกรัม ความยาว (เซนติเมตร) 62 เซนติเมตร
  • อายุ 5 เดือน น้ำหนัก (กิโลกรัม) 6.5 กิโลกรัม ความยาว (เซนติเมตร) 64 เซนติเมตร
  • อายุ 6 เดือน น้ำหนัก (กิโลกรัม) 7 กิโลกรัม ความยาว (เซนติเมตร) 67 เซนติเมตร

การเติบโตของร่างกาย และพัฒนการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามเแพทย์

พัฒนาการ

  • การทรงตัวและเคลื่อนไหว เมื่อวางให้ลูกอยู่ในท่าคว่ำ จะชันคอ ยกศีรษะขึ้นสูงได้โดยใช้แขนยันหน้าอกหรือชูขึ้น เมื่อจับให้อยู่ในท่านั่งจะยกศีรษะตั้งตรงได้ อายุ 5-6 เดือน พลิกตัวคว่ำและหงายได้เองและคืบได้
  • การใช้ตาและมือ มองตามสิ่งที่เคลื่อนที่จากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง มือ 2 ข้างจับกันตรงกลาง ใช้มือคว้าของใกล้ตัว อายุ 6 เดือนใช้มือเดียวจับของได้
  • การสื่อความหมายและภาษา เด็กจะหันตามเมื่อได้ยินเรียกชื่อ ทำเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับคนเลี้ยง หัวเราะเสียงดัง ส่งเสียงแหลมรัวเวลาดีใจหรือสนุก
  • อารมณ์และสังคม เมื่อแม่ยิ้มลูกจะยิ้มตอบและยิ้มทัก ทำท่าทางดีใจเวลาเห็นขวดนมหรืออาหาร พ่อแม่ และคนเลี้ยงดู เริ่มรู้จักแปลกหน้าเลี้ยงลูกให้แข็งแรงด้วยอาหาร และกระตุ้นพัฒนาการ ด้วยการเล่นกับลูกอย่างใกล้ชิด โดย
  • เริ่มป้อนอาหารด้วยช้อนที่ขอบมนไม่คม
  • จัดหาที่สะอาดและปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำและคืบ
  • เล่นกับลูกโดยชูมือหรือของเล่นให้ลูกไขว่คว้า เรียกชื่อให้ลูกหันมาชมเชยให้กำลังใจเมื่อลูกพยายามหรือทำได้
  • หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้ลูกหยิบ จับ มองตาม และให้คืบไปหา
  • พ่อแม่ช่วยกันยิ้มเล่น มองหน้า และสบตากับเด็ก พูดคุยโต้ตอบ เลียนเสียงของเด็ก พูดถึงสิ่งที่กำลังอยู่กับเด็กเช่น อาบน้ำ กินข้าว
  • ควรเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดีและลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่
  • บันทึกน้ำหนัก ความยาวและพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต