การออกกำลังกาย ระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอันตรายหรือไม่

เชื่อว่าคงมีคุณแม่มือใหม่หลายท่านที่เริ่มจะรู้สึกอึดอัดกับสรีระที่อุ้ยอ้าย เคลื่อนไหวไม่สะดวกคล่องตัวเหมือนก่อน หลายท่านอาจนึกอยากออกกำลังกายให้กระฉับกระเฉงขึ้นมาบ้าง

ภาพจากsamitivejhospitals.com

การออกกำลังกาย ระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอันตรายหรือไม่

เชื่อว่าคงมีคุณแม่มือใหม่หลายท่านที่เริ่มจะรู้สึกอึดอัดกับสรีระที่อุ้ยอ้าย เคลื่อนไหวไม่สะดวกคล่องตัวเหมือนก่อน หลายท่านอาจนึกอยากออกกำลังกายให้กระฉับกระเฉงขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังหวั่นใจว่าทำไปแล้วจะมีผลกระทบหรือเป็นอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ หรือไม่ วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันค่ะ

คุณแม่ที่อยากออกกำลังกายนักหนา แต่กลัวจะกระทบกระเทือนลูกในครรภ์ คงจะคลายความกังวลกันได้แล้วล่ะคะ เพราะมีข้อมูลทางการแพทย์ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าการออกกำลังกายในระหว่าง ตั้งครรภ์นั้นมีประโยชน์ไม่น้อยหากทำอย่างถูกวิธี การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการคลอด และช่วยให้รูปร่างคุณแม่กลับคืนสู่ปกติหลังคลอดได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังอย่าให้หักโหมเกินไป และควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่เป็นอันตรายต่อ ลูกในครรภ์ด้วยนะคะการออกกำลังกายที่ถูกวิธี จะช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ดี ช่วยให้รูปร่างคุณแม่ไม่อุ้ยอ้ายจนเกินไป ช่วยควบคุมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ และยังเป็นการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อสำหรับการคลอด เพื่อไม่ให้คุณแม่ต้อง ออกแรงเบ่งมากโดยไม่จำเป็น ในช่วงตั้งครรภ์ใหม่ๆ คุณแม่อาจเลือกออกกำลังกายโดยการวิ่ง หรือเล่นตุ้มน้ำหนัก แต่เมื่อครรภ์โตขึ้นก็ควรต้องปรับให้เหมาะสม ตามสภาพร่างกายด้วยพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการลื่นล้ม เช่น การปั่นจักรยาน การเล่นโรลเลอร์เบลด และ การขี่ม้า เป็นต้นมีการออกกำลังกายอยู่หลายชนิด ที่แพทย์รับรองว่าปลอดภัย ถึงแม้ว่าอาจจะไม่เหมาะนักสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในระยะ 2-3 เดือนสุดท้าย ซึ่งทางที่ดีควรจะปรึกษาแพทย์ ก่อนเริ่มออกกำลังกายจะเป็นการดีที่สุดค่ะ

การเดิน การเดินเป็นการบริหารหัวใจที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับหญิงมีครรภ์เลยค่ะ และเป็นวิธีที่ไม่หนักเกินไปสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกาย การเดินจะช่วยให้มีความคล่องตัวกระฉับกระเฉง โดยที่หัวเข่าและข้อเท้าได้เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้คุณแม่ได้ออกมาสูดอากาศภายนอก แทนที่จะจับเจ่าอยู่แต่ในบ้านตลอด 9 เดือนนะคะ

การวิ่งเหยาะๆ การวิ่งเหยาะๆหรือที่เราเรียกกันว่า จ็อกกิ้ง นั้นถือเป็นการบริหารหัวใจและร่างกายที่ได้ผลเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรมการวิ่งได้ตามความสะดวก เช่น ถ้ามีเวลาน้อยก็อาจจะวิ่งซัก 15 นาที หรือถ้ามีเวลามากหน่อยก็เพิ่มเป็นครึ่งชั่วโมงได้ แต่ทั้งนี้มีข้อควรระวังนิดนึงนะคะ เพราะในการวิ่งนั้น คุณแม่อาจเสี่ยงต่อการลื่นล้มได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงแดดที่แรงจนเกินไป และดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อชดเชยเหงื่อที่สูญเสียไป

ว่ายน้ำ การว่ายน้ำได้รับการยอมรับจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั้งหลายนะคะว่า เป็นการออกกำลังกายที่ดีและปลอดภัยที่สุดสำหรับหญิงมีครรภ์ การว่ายน้ำจะช่วยคุณแม่ในเรื่องของการบริหารกล้ามเนื้อทั้งแขนและขา ช่วยให้หัวใจทำงานได้เต็มที่โดยที่ข้อต่อต่างๆ ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไปนอกจากนี้น้ำยังช่วยรองรับน้ำหนักตัวทำให้คุณแม่ รู้สึกเบาสบายในขณะอยู่ในน้ำ อย่างไรก็ตามคุณแม่ก็ควรระมัดระวังสักนิดนะคะไม่ให้หน้าท้องกระแทกน้ำแรง เกินไป

โยคะ โยคะและการเหยียดยืดร่างกายช่วยให้กล้ามเนื้อคลายความตึง และมีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนข้อต่อ และคุณแม่อาจจะออกกำลังกายเสริมด้วยการเดินอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้หัวใจทำงานดีขึ้น

การเต้น การเต้นเข้ากับจังหวะที่คุณแม่โปรดปรานในห้องส่วนตัวสามารถช่วยให้หัวใจสูบฉีด เลือดได้ดี แต่ต้องหลีกเลี่ยงท่าเต้นบางท่า เช่น เบรคด๊านซ์ หรือการเคลื่อนไหวที่ต้องกระโดด หรือหมุนตัว

ภาพจาก mahosot.com

ภาพจาก krujinkrub.com

นอกจากนี้กีฬาจำพวกกอล์ฟ หรือโบวลิ่ง ก็ถือเป็นสันทนาการที่คุณแม่สามารถเลือกเล่นได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ช่วยในเรื่องการทำงานของหัวใจเท่าไรนัก นอกจากนี้ยังต้องระวังกันนิดนึงในเรื่องของการทรงตัว โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนหลังของการตั้งครรภ์

เป็น ยังไงคะ อ่านดูแล้วชักอยากออกกำลังกายขึ้นมาบ้างหรือยัง แต่ทางที่ดีก่อนจะเริ่มอย่างจริงจัง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์อยู่สักหน่อยนะคะ ว่าจะเลือกวิธีไหนที่จะเหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของเรามากที่สุด โดยไม่เกิดอันตรายต่อลูกน้อย

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง