ภาพจาก mahosot.com
แคลเซียม เหล็ก และไอโอดีนในอาหารสำคัญอย่างไร
ธาตุเหล็ก ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีสะสมไว้สำหรับทารกและเป็นการป้องกันโรคโลหิตจางทั้งแม่และลูก โดยปกติผู้หญิงควรจะได้ธาตุเหล็กวันละ 15 มิลลิกรัม ซึ่งอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องใน ตับ เลือด (หมู, เป็ด, ไก่) ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กก็มีความจำเป็นในระยะแรก อาจจะไม่เสริม แต่ถ้านัดต้องเสริมธาตุเหล็ก ร่างกายปรับตัวจากการไม่มีประจำเดือนได้จากอาหารพอ ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหา โลหิตจางมาก่อน แพทย์จะให้ธาตุเหล็กเสริมในรูปยาเม็ดตั้งแต่ทราบปัญหา แต่ในช่วง ตั้งครรภ์ ระยะที่ 2 คือ ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ธาตุเหล็กจากอาหารอย่างเดียวไม่พอเพราะ ร่างกายต้องการวันละ 45 มิลลิกรัม จึงต้องเสริมด้วยยาเม็ดธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ด และกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงด้วย
ภาพจาก thaichildcare.com
แคลเซียม ความต้องการแคลเซียมของแม่และทารกเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ 4-8 ของการตั้งครรภ์และเพิ่มมากในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด ดังนั้น จึงควร กระตุ้นให้แม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ กินอาหารที่มีธาตุแคลเซียมสูง เพื่อเสริมสร้างกระดูก และฟันของแม่ให้แข็งแรง หญิงตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมถึง 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูงคือ นม 1 แก้ว ให้แคลเซียมประมาณ 240 มิลลิกรัม ปลาแห้งตัวเล็ก ๆ ที่ทอดกรอบกินได้ทั้งกระดูก เช่น ปลาไส้ตัน ปลากระดี่ 2 ช้อน ให้แคลเซียมเท่ากับนม 1 แก้ว เต้าหู้ ปลากระป๋อง (ซาดีน) ก็ให้แคลเซียมสูง และ จากอาหารทั่ว ๆ ไปได้วันละประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ จึงควรดื่มนมวันละ 2 แก้ว ถ้ามีปัญหาเรื่องการดื่มตรงเรื่องไม่สบายท้อง แนะนำให้ ดื่มครั้งละครึ่งแก้วหรือดื่มหลังอาหาร หรือกินโยเกิร์ตแทน หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ดื่มนมแพทย์ อาจต้องให้แคลเซียมเพิ่มในรูปของยาเม็ดเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูก และ ป้องกันกระดูกผุของแม่ในภายหลัง
ไอโอดีน ต่อมธัยรอยด์จะทำงานเพิ่มขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน จึงทำให้ความต้องการ ไอโอดีนสูงกว่าปกติ เพื่อลูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และถ้าปล่อยให้ขาดนาน ๆ นอกจากจะเกิดผลเสียต่อทารกแล้ว ตัวแม่เองอาจเป็นคอพอกได้ดังนั้น การป้องกันการขาดธาตุไอโอดีนโดยขอแนะนำให้เลือกกินอาหารทะเลหรือใช้เกลือ ที่ผสมไอโอดีนที่มีขายอยู่ทั่วไปมาปรุงอาหาร
ขอบคุณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข