การกินยาก่อนและหลังอาหารมีผลอย่างไรกับร่างกาย

เวลาเราป่วยหรือไม่สบาย หากต้องทานยา คุณหมอก็มักจะจัดยาให้กินทั้งก่อน และหลังการทานอาหาร ซึ่งหลายคนคงสงสัยว่ามันมีผลต่างกันอย่างไร

ภาพจาก : allwellhealthcare.com

เวลาเราป่วยหรือไม่สบาย หากต้องทานยา คุณหมอก็มักจะจัดยาให้กินทั้งก่อน และหลังการทานอาหาร ซึ่งหลายคนคงสงสัยว่ามันมีผลต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการทานยามาให้ได้เก็บเป็นความรู้รอบตัวกันค่ะ

อย่างแรกเลยสำหรับการกินยาก่อนอาหาร ตามหลักของเภสัชวิทยา มีข้อดีตรงที่ทานตอนท้องว่าง ซึ่งจะทำให้ลำไส้ดูดซึมตัวยาเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีอาหารมาขัดขวาง ฉะนั้นตัวยาที่คุณหมอให้ทานก่อนอาหารมักจะเป็นชนิดที่ไม่มีผลต่อการระเคืองกับกระเพาะอาหาร เช่น ยาลดความดัน ยารักษาเบาหวาน ยาโรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนิยมให้ทานตอนเช้าก่อนอาหารแค่ครั้งเดียว เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย อย่างที่สองยากินหลังอาหาร สาเหตุที่ทำให้ต้องกินหลังทานอาหารนั้นมีอยู่ 2 ประการ คือ 1.ป้องกันการระคายเคืองของตัวยากับกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจะมีผลกัดกระเพาะหรือไซ้ท้อง เช่น ยาลดไข้แอสไพริน ยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการปวดข้อ ฯลฯ โดยหากกินก่อนทานอาหารอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้ 2.เพื่อความสะดวก จะได้ไม่ลืม เนื่องจากผู้ป่วยมักจะเคยชินกับการกินยาหลังอาหาร เมื่อทานอาหารเสร็จก็จะนึกถึงการกินยาด้วย ทำให้ไม่ลืม

ภาพจาก : thaihealth.or.th

นอกจากนี้หากลืมกินยาตามที่หมอสั่งก็ให้ดูตัวยาว่าใช้ในการรักษาอาการอย่างไร หากเป็นยาที่ใช้รักษาในกลุ่มพวกแก้ไข้ แก้ปวด แก้แพ้ แก้ไอ แก้คัน ก็ไม่จำเป็นต้องกินทุกมื้อก็ได้ กินเมื่อมีอาการ ส่วนการเว้นช่วงเวลาในการกินยา ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 4-6 ชั่วโมง หรือวันละครั้งตามชนิดยา แต่ถ้าหากเป็นยาที่ใช้รักษาเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่น ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ยาเบาหวาน ยาลดความดัน เป็นต้น ควรทานให้ครบทุกมื้อไม่ควรเว้น หากลืมถ้านึกขึ้นได้ก็ให้ทานทันที แต่ถ้าหากใกล้เวลาของมื้อต่อไปแล้วก็กินตามปกติ อย่ากินเพิ่มปริมาณ เพราะยาอาจออกฤทธิ์มากเกินไปได้

ขอขอบคุณ นิตยสารเรื่องผู้หญิง