ตำลึง สรรพคุณและประโยชน์

ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง

ตำลึง ชื่อสามัญ Ivy gourd

ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cephalandra indica (Wight & Arn.) Naudin) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ตำลึง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง

ตำลึง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะให้พลังงานกับร่างกาย 35 กิโลแคลอรี, โปรตีน, ใยอาหาร 1 กรัม, เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU, วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม, วิตามินซี 34 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม, ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม เป็นต้น

มีงานวิจัยหลายงานที่ชี้ว่า ตำลึงช่วยรักษาโรคเบาหวานได้จริง โดยมีผลในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด !

สรรพคุณของตำลึง

  1. ช่วยบำรุงเลือด (ใบ)
  2. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
  3. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตกได้
  4. ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ (ใบ)
  5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (วิตามินซี)
  6. ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
  7. ช่วยลดไข้ (ราก)
  8. ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
  9. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม (เถา)
  10. ใช้แก้อาการตาแดง เจ็บตา (ใบ)
  11. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง (เปลือกราก, หัว)
  12. ช่วยขับสารพิษในลำไส้ (ใบ)
  13. ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ใบ)
  14. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบตำลึงนำมาตำแล้วทาบริเวณที่คัน (ใบ, ดอก)

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , หมอชาวบ้าน ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต